7 ประเด็นหลักของกฎหมายแรงงาน และสิทธิประโยชน์

23 มิถุนายน 2564

กฎหมายแรงงาน อัพเดต 7 ประเด็นหลักของกฎหมายแรงงาน และสิทธิประโยชน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง จะมีอะไรบ้าง มาดูกันครับ

ประเด็นที่ 1 ลากิจธุระจำเป็น

เดิม : มาตรา 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ตามจำนวนวันที่นายจ้างกำหนด และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ใหม่ : ให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน

ประเด็นที่ 2 ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด

เดิม : มาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย

ใหม่ : เพิ่มวันลาเพื่อคลอดบุตรจากเดิมที่ไม่เกิน 90 วัน เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 98 วัน นับรวมถึงการลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย

ประเด็นที่ 3 กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล

เดิม : นายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม ลูกจ้างต้องไปฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยเอง

ใหม่ : หากลูกจ้างไม่ยินยอม กฎหมายระบุให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 118

ประเด็นที่ 4 ค่าชดเชยใหม่กรณีเลิกจ้าง (มาตรา 118)

กฎหมายแรงงาน

ประเด็นที่ 5 กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น

เดิม : นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบ สำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่า 50 % ของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ

ใหม่ : นายจ้างย้ายสถานที่ประกอบการ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับตามมาตรา 118

ประเด็นที่ 6 กรณีค่าตอบแทน

หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนให้ลูกจ้างในบางอาชีพที่ทำงานเกินเวลาปกติ ลูกจ้างสามารถต้องฟ้องขอได้

เดิม : ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

ใหม่ : ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี

ประเด็นที่ 7 ให้สิทธิเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย

อัตราค่าตอบแทนกำหนดขึ้นโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากความแตกต่างทางเพศ อ้างอิงจากอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 100

 

โดย : กองบรรณาธิการ ธรรมนิติ

 

หนังสือ “กฏหมายแรงงาน 2564”

รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงาน Update ณ มิถุนายน ปี 2564 ใช้เป็นคู่มือทางการศึกษา และปฏิบัติงาน
กฎหมายในเล่มประกอบไปด้วย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน, พระราชบัญญัติประกันสังคม, พระราชบัญญัติเงินทดแทน

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?