ความแตกต่างด้านภาษี เรื่องสัญญจ้างเขียนโปรแกรม
ความแตกต่างของสัญญา
สัญญาจ้างทำของ : การตีความของสัญญาจ้างเขียนโปรแกรมที่ระบุว่าให้ลูกค้าได้รับลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ : สัญญาที่ระบุว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้สร้าง ลูกค้าเพียงได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมเท่านั้น
ถ้าไม่ได้ระบุว่าให้ลิขสิทธิ์เป็นของใคร ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
ภาษีสัญญารับจ้างเขียนโปรแกรม
ภาษีเงินได้ : กรณีผู้ว่าจ้างเป็นบริษัท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แต่หากเป็นภาครัฐ ต้องหัก 1%
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : หากผู้รับจ้างเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเรียกเก็บภาษี 7%
อากรแสตมป์ : สัญญาจ้างทำของต้องเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลักษณะที่ 4 ในอัตรา 0.1% ของสินจ้าง
ภาษีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรม
ภาษีเงินได้ : กรณีผู้รับอนุญาต (Licensee) เป็นบริษัท ผู้รับอนุญาตต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% หากเป็นหน่วยงานภาครัฐ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ถ้าผู้อนุญาต (Licensor) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%
เทียบความแตกต่างทางภาษี
ภาษีเงินได้
สัญญาจ้างเขียนโปรแกรม
● ผู้ว่าจ้างเป็นบริษัท หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
● กรณีเป็นภาครัฐ หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
สัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิในโปรแกรม
● ผู้รับอนุญาตเป็นบริษัท หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
● กรณีเป็นภาครัฐ หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
สัญญาจ้างเขียนโปรแกรม
● ผู้รับจ้างจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บภาษี 7%
สัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิในโปรแกรม
● ผู้รับอนุญาตจดทะเบียภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บภาษี 7%
อากรแสตมป์
สัญญาจ้างเขียนโปรแกรม
● สัญญาจ้างทำของ เสียอากรแสตมป์ในอัตรา 0.1% ของสินจ้าง
สัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิในโปรแกรม
● ไม่เสียค่าอากรแสตมป์