08 พฤศจิกายน 2565
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมรถ
นำรถเข้าอู่แล้วต้องทำอย่างไร ?
ตามกฎหมาย ต้องมีการประเมินราคา และแจ้งให้ลูกค้าทราบก่อน ถ้าไม่แจ้ง ถือว่าเป็นการแปลงสัญญา แก้สัญญา โดยที่ลูกค้าไม่ยินยอม ลูกค้าสามารถปฏิเสธ ในส่วนค่าซ่อมที่เกินมา โดยที่เจ้าของอู่ไม่ได้แจ้งก่อนได้
รับรถไปแล้ว พังอีก เรียกร้องได้ไหม ?
ตามกฎหมาย ก่อนรับของ เป็นหน้าที่ของลูกค้าที่ต้องตรวจสอบ แต่ถ้าลูกค้ายอมรับมาโดยไม่ทักท้วง เจ้าของอู่ สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้
โดนสับเปลี่ยนอะไหล่ ได้ของไม่ตรงสเปก เรียกร้องได้ไหม ?
ถ้าอู่ซ่อมรถ เอาของเทียมมาใส่ให้ แล้วคิดในราคาของจริง หรือนำอะไหล่เดิมที่อยู่กับรถไปขายต่อ สับเปลี่ยนให้รถคันอื่น ถือว่าเป็นความผิด แจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของอู่ได้ ในข้อหาฉ้อโกง แม้จะมาตรวจพบทีหลังแล้วก็ตาม
ซ่อมแล้วไม่หาย รถเสียเพิ่ม งานล่าช้า ทำอย่างไร ?
ถ้ามีการตกลงกัน เรื่องระยะเวลาการซ่อมแล้ว ช่างไม่สามารถทำเสร้จามกำหนด หรือพบความเสียหายเพิ่ม จากการซ่อม สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ต้องการร้องเรียนอู่ซ่อมรถควรทำอย่างไร
ร้องเรียนไปยัง สคบ.
ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ https://complaint.ocpb.go.th
เอกสารที่ต้องใช้
1. ไฟล์ภาพ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เซ็นสำเนาถูกต้อง
2. ชื่อสกุล หรือชื่อผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมที่อยู่ที่ติดต่อได้ ของผู้ที่ทำให้คุณเสียหาย
3. ไฟล์เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเสร็จ, แคปภาพจากสื่อโฆษณาชวนเชื่อ, สลิปการโอนเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง
ต้องเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง “ผู้บริโภค” กับ “ผู้ประกอบธุรกิจ” เท่านั้น ถ้าเป็น “บุคคลฟ้องบุคคล” หรือ “ธุรกิจฟ้องธุรกิจ” จะอยู่นอกเหนืออำนาจของ สคบ.
แจ้งความ/ ลงบันทึกประจำวัน
ผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้ที่ สน. ที่อู่ซ่อมรถอยู่ในพื้นที่นั้น
เอกสารที่ต้องใช้
1. ไฟล์ภาพ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เซ็นสำเนาถูกต้อง
2. ชื่อสกุล หรือชื่อผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมที่อยู่ที่ติดต่อได้ ของผู้ที่ทำให้คุณเสียหาย
3. ไฟล์เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเสร็จ, สลิปการโอนเงิน , หลักฐานการพูดคุย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง