รู้จักค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย

13 มิถุนายน 2562

ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย เป็นสองสิ่งที่เรามักเจอในเรื่องการทำบัญชี แต่ทั้ง 2 ค่านี้มีความเหมือนกันหรือไม่ ต้องติดตามกันครับ 

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization)   เกิดจากสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป คือค่าประมาณการว่าสินทรัพย์นั้นจะ “เสื่อมราคา” ลงไป จนถึง ณ.วันที่คาดว่าจะหมดอายุการใช้งาน   เป็นรายการที่ทางบัญชีให้บริษัทสามารถกระจายมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินการบริษัท ออกเป็นค่าใช้จ่าย ตามจำนวนปีที่คาดว่าสินทรัพย์นั้นจะใช้งานได้ 

 

ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายต่างกันอย่างไร?  

• ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ใช้กับสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น อาคาร อุปกรณ์

• ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) ใช้กับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิการเช่า ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา

 

ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายถือเป็นค่าใช้จ่ายหรือไม่?

ถือเป็นค่าใช้จ่าย แม้จะเป็นรายจ่ายที่ไม่ได้มีการจ่ายออกเป็นเงินสด  บริษัทที่ตัดค่าเสื่อมน้อยเกินไป อนาคตสินทรัพย์อาจหมดอายุการใช้งานก่อนที่ค่าเสื่อมจะตัดจำหน่ายหมด ทำให้สินทรัพย์ และการกระจ่ายค่าใช้จ่ายไม่ตรงกับความเป็นจริง  ส่วนบริษัทที่ตัดค่าเสื่อมมากเกินไป ค่าเสื่อมอาจหมดก่อนที่สินทรัพย์จะหมดอายุ ทำให้บริษัทเกิดค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจริง และส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทได้

 

วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา

การคิดหาค่าเสื่อมราคา มีหลายวิธีแต่วิธีที่เป็นที่นิยมที่สุด คือ วิธีแบบเส้นตรง  หรือวิธีที่ใช้การกระจายค่าเสื่อมออกเท่า ๆ กันทุกปี ตลอดช่วงอายุการใช้งาน

                           ค่าเสื่อม = มูลค่า ณ.วันซื้อ – มูลค่า ณ.วันสิ้นอายุ

                             ___________________________

                                         จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้การได้

ตัวอย่างเช่น

หากบริษัทซื้อรถมา 1 คันเพื่อใช้ในกิจการบริษัท ราคา 2 ล้านบาท คาดว่า ถจะมีอายุการใช้งาน 5 ปี  มูลค่ารถมือสองอายุ 5 ปีราคา 5 แสนบาท                    

ค่าเสื่อมราคา แบบเส้นตรง คำนวณโดย
 

                       ค่าเสื่อม = มูลค่า ณ.วันซื้อ – มูลค่า ณ.วันสิ้นอายุ 

                    ______________________________________

                                     จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้การได้

 

                  = 2,000,000 – 500,000                            

                  _________________              = 300,000 บาทต่อปี  

                               5 

 

*มูลค่า ณ.วันสิ้นอายุ คือมูลค่าประมาณการของสินทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้ ในวันที่สินทรัพย์สิ้นอายุการใช้งาน หรือเรียกอีกอย่างว่า ค่าซาก
 

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?