รู้จัก RMF และ LTF

RMF และ LTF

25 มิถุนายน 2562

RMF และ LTF เป็นกองทุนเพื่อลงส่งเสริมให้มีการลงในระยะยาว ทั้งสองตัวมีรายละเอียดแตกต่างกัน สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนและออมเงิน ต้องศึกษาเงื่อนไขต่างให้ดีก่อนตัดสินใจ 

RMF

RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund” หรือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ และ มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ตามช่วงอายุของผู้ลงทุนตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำถึงความเสี่ยงสูง

RMF ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การลงทุนเช่นกัน โดยเพิ่มเติมจากคำว่า “เงินได้” เป็นคำว่า “ผู้มีเงินได้สามารถซื้อหน่วยลงทุนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี เป็นจำนวนเงินสูงสุดถึง 500,000 บาท” เมื่อรวมกับกองทุนอื่น ๆ ดังนี้

  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(Provident Fund)
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
  • ประกันชีวิตชนิดบำนาญ
  • กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี นอกจากนั้นยังต้องถือไว้เกินกว่า 5 ปี และมีอายุเกิน  55 ปี ถึงจะสามารถขายได้

 

RFM เหมาะสมกับใคร?

  • เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณมารองรับ เช่น คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นต้น รวมทั้งผู้ที่มีสวัสดิการ ดังกล่าวแล้วแต่มีความประสงค์ที่จะออมเพิ่ม

 

LTF

LTF ย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund” หรือ “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก และเหมาะสำหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว

LTF ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การลงทุนอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ เพิ่มเติมจากคำว่า “เงินได้” เป็นคำว่า “ผู้มีเงินได้สามารถซื้อหน่วยลงทุนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี เป็นจำนวนเงินสูงสุดถึง 500,000 บาท”

อีกทั้ง ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา สำหรับการซื้อ LTF ที่จากเดิมกำหนดสิ้นสุดการลดหย่อนในปี 59  ให้ขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี  และได้ปรับเงื่อนไขการถือครองหน่วยลงทุนเพิ่มเป็น 7 ปี ปฎิทิน จึงจะสามารถขายได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2560

LTF เหมาะสมกับใครบ้าง?

  • บุคคลที่มีรายได้และต้องเสียภาษี
  • มีเป้าหมายในการลงทุน เช่น สร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น ลดหย่อนภาษีสร้างวินัยการลงทุน
  • ยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นได้

เรื่อง : กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th  

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?