18 เมษายน 2563
ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ผ่านการเห็นชอบจาก ครม.แล้ว เพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสกันได้ นับเป็นประเทศแรกในเอเชียทีมีกฎหมายนี้
ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ที่มีแนวคิดจากโลกที่มีความหลายหลายแตกต่าง การเปิดรับความหลากหลยทางเพศก็เพิ่มขึ้นมากขึ้นเช่นกัน และเพื่อกฎหมายที่มีอยู่สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. หลังจกนี้ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. คือการปลดล็อคจากที่เคยกฎหมายระบุว่า การจดทะเบียนสมรสจะต้องเป็นการสมรสระหว่างชายและหญิงเท่านั้น จึงส่งผลให้คนเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรส ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันได้ถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง
สำหรับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. ประกอบด้วย 6 หมวด 44 มาตรา ดังนี้
- อารัมภบท (มาตรา 1 – 4 ) กำหนดเงื่อนเวลาในการบังคับใช้กฎหมาย คำนิยามสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะ คำว่า “คู่ชีวิต” รวมทั้งกำหนดรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
- หมวด 1 การจดทะเบียนคู่ชีวิต (มาตรา 5 – 20) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ในการจดทะเบียนคู่ชีวิต ตลอดจนความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนคู่ชีวิต
- หมวด 2 ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิต (มาตรา 21 – 24) กำหนดสิทธิและหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิต
- หมวด 3 ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต (มาตรา 25) กำหนดสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต
- หมวด 4 การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต (มาตรา 26 – 41) กำหนดเหตุที่ทำให้การเป็นคู่ชีวิตสิ้นสุดลง หลักเกณฑ์การสมัครใจเลิกกันจากการเป็นคู่ชีวิต การขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนคู่ชีวิต และเหตุแห่งการฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต ตลอดจนผลสืบเนื่องจากการสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต
- หมวด 5 มรดก (มาตรา 42- 43) กำหนดสิทธิและหน้าที่ในการรับมรดกของคู่ชีวิต
- หมวด 6 อายุความ (มาตรา 44) กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องระหว่างคู่ชีวิตภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้
อ่านสรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 25 ธันวาคม 2561 ได้ที่ http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17752
Related Article
สิทธิที่เข้าถึงได้หากมี กฎหมายคู่ชีวิต