“ค่าชดเชย” เมื่อถูกเลิกจ้าง
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในประเด็น ‘การเลิกจ้าง’ ระบุให้ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง อาจเห็นได้บ่อยครั้งกรณีที่ลูกจ้างมีการเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชย หลังจากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมายระบุ
ซึ่งโดยกฎหมายแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามกฎหมาย ไม่ต้องให้ลูกจ้างทวงถาม แต่เนื่องจากนายจ้างบางรายอาจขาดสภาพคล่องทางการเงิน จึงอาจจะมีปัญหาในขั้นตอนที่จะต้องจ่ายเงินชดเชย เมื่อนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีแล้ว นายจ้างจะต้องทำการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย
6 สิทธิ์เข้าข่ายได้รับค่าชดเชย
ตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2563 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 30 วันสุดท้าย สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 90 วันสุดท้าย สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 180 วันสุดท้าย สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 240 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
6. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย