25 กุมภาพันธ์ 2565
การลงใบกำกับภาษี ถึงดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าเองต้องรู้จักเงื่อนไขต่างๆ ไว้ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ใบกำกับภาษีอย่างถูกต้อง ไม่มีปัญหาตามมาภายหลังนั่นเองครับ
การลงรายการในใบกำกับภาษี
สิ่งที่มักสงสัยในการลงรายการในใบกำกับภาษี
- ส่วนไหนต้องพิมพ์
- แบบไหนเขียนมือได้
- แบบไหนใช้ตราประทับได้
จุดสังเกตก่อนลงรายการ
เรื่องสำคัญก่อนลงรายการใบกำกับภาษี ต้องแยกให้ถูกว่าเป็นใบกำกับภาษีแบบไหน
1.ใบกำกับภาษีที่ตีพิมพ์จากโรงพิมพ์
2.ใบกำกับภาษีที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ใบกำกับภาษีที่ตีพิมพ์จากโรงพิมพ์
วิธีสังเกต
- คำว่า “ใบกำกับภาษี”
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวของผู้ออกใบกำกับภาษี
- คำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” (ถ้ามี)
ทั้ง 3 ส่วนถูกตีพิมพ์ครบออกจากโรงพิมพ์มาพร้อมกัน
การใช้งาน
ส่วนอื่นๆ เช่น รายการ, วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี, ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ จะลงรายการด้วยการเขียนด้วยมือ พิมพ์ดีด ใช้ตราประทับ หรือพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ได้ และยังสามารถลงรายการรวมกันในใบกำกับภาษีใบเดียวกันได้
ใบกำกับภาษีที่ทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์
วิธีสังเกต
- คำว่า “ใบกำกับภาษี”
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวของผู้ออกใบกำกับภาษี
- คำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” (ถ้ามี)
ทั้ง 3 ส่วนไม่ได้ถูกตีพิมพ์ครบถ้วนออกจากโรงพิมพ์
การใช้งาน
รายการอื่นๆ จะต้องตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น จะกรอกด้วยมือหรือใช้ตราประทับไม่ได้