เงินเดือนเท่าไหร่? ถึงจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา

28 ตุลาคม 2565

เงินเดือนเท่าไหร่? ถึงจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา ยังคงเป็นคำถามที่มนุษย์เงินเดือน หรือเด็กจบใหม่ ยังคงสงสัยมาโดยตลอดว่า
มีรายได้เท่าไร จึงจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาดูวิธีการคำนวณกันครับ

เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี

หากบุคคลธรรมดานั้นมีเงินได้สุทธิ ไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่จะรู้ได้ยังไงว่า เงินได้สุทธินั้นไม่เกิน 150,000 บาท

 

โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้

รายได้ (ตลอดทั้งปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

รายได้ คือ รายรับจากงานประจำลบด้วยค่าใช้จ่ายของรายได้จากงานประจำได้ 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ลบด้วยค่าลดหย่อนส่วนตัว คนละ 60,000 บาท (กรณีที่ไม่มีสิทธิในค่าลดหย่อนอื่นๆ เพิ่มเติม) = เงินได้สุทธิ

 

ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำหรือเงินเดือนเพียงทางเดียว และมีรายได้ตลอดทั้งปี ไม่เกิน 120,000 บาท ไม่จำเป็นที่ต้องยื่นภาษีเงินได้

 

เพราะฉะนั้นสำหรับผู้มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีหรือเสียภาษี

 

ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำหรือเงินเดือนเพียงทางเดียว และมีรายได้ตลอดทั้งปี เกิน 120,000 บาท แต่คำนวณเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่เสียภาษี

 

เพราะฉะนั้นสำหรับผู้มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 26,583.33 บาท ต่อเดือน ต้องยื่นภาษี แต่ไม่เสียภาษี

 

ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำหรือเงินเดือนเพียงทางเดียว และมีรายได้ตลอดทั้งปี เกิน 120,000 บาท และคำนวณเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี

 

เพราะฉะนั้นสำหรับผู้มีรายได้มากกว่า 26,583.33 บาท ต่อเดือน ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?