11 มีนาคม 2565
ป้ายที่ต้องเสียภาษี คือ ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ เครื่องหมายการค้า ที่ใช้ในการโฆษณาเพื่อหารายได้ โดยแสดงเป็นอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก บนวัสดุต่าง ๆ
กฎหมายยังมีข้อยกเว้นหลายข้อ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้วิธีเหล่านี้ในการติดป้ายโดยไม่ต้องเสียภาษีด้วยวิธี ดังนี้
ติดป้ายแบบไหน ไม่เสียภาษี
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงละคร สถานที่แสดงดนตรีหรือสถานที่ สำหรับฉายภาพยนตร์
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือสิ่งบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าประกอบกิจการอื่น หรือภายในอาคารซึ่งเป็นรโหฐาน เพื่อหารายได้ แต่ละป้ายต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตร ที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ เช่น ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
8. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
9. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
10. ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนาหรือการกุศลสาธารณะ
11. ป้ายของสมาคม หรือมูลนิธิ
12. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย ดังนี้
– ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคลรถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
– ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน