05 มิถุนายน 2562
ประกาศฉบับใหม่ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้นิติบุคคลต้องติดตั้งเครื่องรูดบัตร เพื่อส่งเสริมการใช้ e-Payment ตามโครงการ National e-Payment ของรัฐบาล
ถ้าคุณคือนิติบุคคล…นี่คือ แ
1.นิติบุคคลแบบไหน…. ต้องติดตั้งเครื่อง EDC
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออก ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าฉบับใหม่ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นนิติบุคคลภายใต้พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งได้แก่ 1.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 2.บริษัทจำกัด 3.บริษัทมหาชนจำกัด 4.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย 5.กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร โดยนิติบุคคลดังกล่าวที่มีการรับชำระเงินจากประชาชนหรือนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการรับชำระเงินในรูปของเงินสดหรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องดำเนินการดังนี้
• จัดให้มีอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) อย่างน้อย 1 เครื่องต่อ 1 นิติบุคคล
• เมื่อติดตั้งเครื่อง EDC ให้รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 15 วันนับตั้งแต่ติดตั้ง ผ่านทางที่ www.dbd.go.thโดยประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา
Q&A
กรณีที่นิติบุคคลที่ไม่มีหน้าร้านจะต้องติดตั้งเครื่อง EDC หรือไม่ : หากนิติบุคคลไม่มีหน้าร้าน แต่มีการรับชำระค่าสินค้าหรือบริการในรูปของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องติดตั้งเครื่อง EDC ตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กรณีที่นิติบุคคลไม่การรับชำระเงินในรูปของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องติดตั้งเครื่อง EDC หรือไม่ : ตามประกาศข้างต้นครอบคลุมการรับการชำระเงินในทุกกรณีของนิติบุคคล แต่อย่างไรก็ดีแนะนำให้ติดตั้งเพื่อรับสิทธิ์ประโยชน์จากโครงการ หรือรอก่อนหากมีประกาศเพิ่มเติมออกมา
ต้องดำเนินการติดตั้งภายในเมื่อไร : ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่นิติบุคคลต้องติดตั้งเครื่อง EDC ออกมา แต่จะเป็นการขอความร่วมมือและหากนิติบุคคลติดตั้งเครื่อง EDC ภายในเดือนมีนาคม 2561 ก็ได้รับสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ
2.เครื่องรูดบัตร รู้จักกันหน่อยเครื่อง EDC (Electronic Data Capture)
คืออุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่าเครื่องรับบัตรหรือเครื่องรูดบัตร เครื่องนี้ธนาคารหรือเจ้าของเครื่องรูดบัตรจะติดตั้งให้กับร้านค้า นิติบุคคลที่ต้องการ ปัจจุบันมีใช้อยู่ 3 รูปแบบคือ
เครื่องรูดบัตรแบบติดตั้งในร้าน : รับชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต เหมาะกับการติดตั้งประจำที่ร้าน
เครื่องรูดบัตรแบบเคลื่อนที่ Mobile EDC : รับชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยเครื่องจะเชื่อมต่อสัญญาณผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ต้องมีซิมการ์ด เหมาะการออกงานแสดงสินค้า (Exhibition) ตามที่ต่างๆ หรือไม่มีร้านประจำ
เครื่องรูดบัตรมือถือ mPOS : รับชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเพื่อชำระสินค้าและบริการ ขนาดเล็กพกพาสะดวกเหมาะกับธุรกิจ Delivery และ Direct Sales
โดยทางธนาคารหรือเจ้าของเครื่องรูดบัตรจะมีการสรุปยอดรับบัตรให้กับทางร้านค้าทุกวันพร้อมกับโอนเงินเข้าบัญชีให้ ปกติการใช้เครื่องรูดบัตรนี้ทางร้านค้าจะต้องมีค่าใช้จ่ายคือ
1.ค่าเครื่องรูดบัตร(ซื้อขาดหรือเช่า)
2.ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้ทางธนาคารหรือบริษัทเจ้าของเครื่องรูดบัตร ซึ่งเมื่อลูกค้าใช้บัตรเครดิตจะคิดค่าธรรมเนียมประมาณ 2-3 % ของยอดการรูดบัตรแต่ละครั้งกับทางร้านค้า โดยอัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร และหากร้านค้ารับชำระบัตรของธนาคารที่ตรงกับเจ้าของเครื่องรูดบัตร การคิดค่าธรรมเนียมจะถูกกว่าการรับชำระบัตรเครดิตของธนาคารอื่นๆ
3.ค่าบริการรายเดือนจากธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ากระดาษพิมพ์สลิป ค่าโทรศัพท์ ค่า Package Internet
Q&A
หลักในการเลือกธนาคารผู้ให้บริการเครื่องรูดบัตร ควรพิจารณาจาก : 1.ค่าเครื่องรูดบัตร 2.อัตราค่าธรรมเนียม 3.เงื่อนไขและบริการต่างๆ จากธนาคาร 4.ความครอบคลุมในการรับบัตรของค่ายต่างๆ เช่น Visa Master AMEX JCB UnionPay
ค่าธรรมเนียมสามารถต่อรองได้หรือไม่ : โดยปกติค่าธรรมเนียมที่ทางธนาคารเรียบเก็บกับทางร้านค้าจะขึ้นอยู่กับยอดชำระในแต่ละเดือน สามารถเช็กเงื่อนไขและลองเจรจากับทางธนาคารได้
เครื่องรูดบัตรสามารถรูดบัตรจากทุกธนาคารได้หรือไม่ : เครื่องรูดบัตรแต่ละธนาคารที่ให้บริการไม่สามารถรับบัตรเครดิตและเดบิตได้ทุกค่ายและทุกธนาคาร เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าเครื่องรูดบัตรรับหรือไม่ แต่ถ้าบัตรและเครื่องรูดบัตรที่รับเป็นธนาคารเดียวกันทางร้านค้าจะเสียค่าธรรมเนียมรูดบัตรถูกกว่า
มีการกำหนดขั้นต่ำในการรูดหรือไม่ : ปัจจุบันไม่มีการกำหนดขั้นต่ำในการรูดบัตร เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้บัตรเดบิตแทนเงินสดเพิ่มมากขึ้น
3. เลือกสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการ
สถาบันการเงินที่ผ่านการคัดเลือกจากรัฐบาล ให้เป็นผู้บริการวางเครื่อง EDC ในโครงการ National e-Payment นี้ได้แก่
ธนาคารกรุงไทย Call Center 02 111 1111
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา Call Center 1572
ธนาคารทหารไทย Call Center 1558
ธนาคารไทยพาณิชย์ Call Center 02 777 7777
ธนาคารธนชาต Call Center 1770
ธนาคารกรุงเทพ Call Center 1333
ธนาคารกสิกรไทย Call Center 02 888 8888
นิติบุคคลที่สนใจติดตั้งเครื่อง EDC ติดต่อได้ที่ธนาคารที่ได้รับคัดเลือกทุกสาขาหรือ Call Center ของธนาคาร Q&A ระยะเวลาในการติดตั้งเครื่อง EDC : ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากติดต่อและส่งเอกสารให้กับธนาคาร
4.หลากสิทธิประโยชน์
เมื่อติดตั้งจากโครงการ National e-Payment ของรัฐบาลซึ่งส่งเสริม e-Payment แทนการใช้เงินสดในภาคประชาชน ภาคธุรกิจและภาครัฐ จึงการปรับลดค่าใช้จ่าย สิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่นๆ (ตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเพิ่มเติม) ให้กับทางร้านค้านิติบุคคลเพื่อขยายการใช้บัตรเดบิตให้เพิ่มมากขึ้น ดังต่อไปนี้
• ไม่ต้องเสียค่าเช่าเครื่อง EDC และค่าติดตั้ง
• ลดค่าธรรมเนียมการรับบัตรเดบิตลงจากเดิม 1.5 – 2.5% ของมูลค่าเงินที่ชำระ เหลือไม่เกิน 0.55 %
• ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรับบัตรถูกกว่าหรือไม่แตกต่างจากปัจจุบัน เช่น ค่ากระดาษพิมพ์สลิป ค่าใช้จ่ายในการสมัคร Package Internet
• นิติบุคคลที่เป็น SMEs ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสามารถนำค่าธรรมเนียมส่วนลดร้านค้า (Merchant Discount Rate: MDR) จากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตไปคำนวณเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ 2 เท่า โดยสามารถสิทธิ์นี้ได้ถึง 31 ธันวาคม 2564
• รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ เช่น สิทธิลุ้นโชคจากการชำระเงินผ่านเครื่อง EDC และตู้ ATM เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560
5. ติดตั้งเครื่องไปแล้วแจ้งขอรับสิทธิ์ได้
นิติบุคคลที่ติดตั้งเครื่อง EDC ไว้ก่อนหน้าที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับ ให้ติดต่อธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการวางเครื่อง EDC เพื่อขอปรับเงื่อนไขของสัญญา เพื่อประโยชน์ในการขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ และให้รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านทางที่ www.dbd.go.th
เรื่อง : กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th