7 ขั้นตอนสู่ ‘กระบวนการคุณภาพในการจัดทำบัญชี’

18 ธันวาคม 2563

กระบวรการคุณภาพในการจัดทำบัญชี

จากที่ทางภาครัฐให้ความสำคัญต่อการจัดทำบัญชี และสนับสนุนให้นิติบุคคลจัดทำบัญชีและเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยตั้งแต่ ปี 2562 ที่ผ่านมา การขอสินเชื่อจากทางสถาบันการเงิน ต้องใช้ งบการเงินที่นำส่งกรมสรรพากร เป็นข้อมูลหลักสำคัญในการประกอบการพิจารณา

ด้วยเหตุนี้ การจัดทำบัญชีจึงมีความสำคัญมากต่อธุรกิจ ซึ่งนักบัญชีควรสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้บริหาร อันจะส่งผลให้งบการเงินมีความถูกต้อง และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของบริษัท

7 ขั้นตอนสู่กระบวนการในการจัดทำบัญชีที่มีคุณภาพ

1. ต้องสร้างความเข้าใจในลัษณะของธุรกิจ

การจัดทำบัญชีได้ถูกต้องหรือไม่นั้น นักบัญชีต้องเข้าใจในลักษณะธุรกิจก่อนเป็นอันดับแรก โดยติดตามว่าธุรกิจขององค์กรที่เราเป็นผู้ทำบัญชี มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างไรบ้าง

2. ต้องเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงาน

การจะรวบรวบข้อมูล และเอกสารจากหน่วยงานต่างๆ ในบริษัทได้อย่างครบถ้วน จำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

3. ต้องประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น / หรืออาจจะเกิดขึ้น

สิ่งนักบัญชีต้องทำต่อเนื่อง คือ การประเมินปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อทบทวนและพิจารณาถึงผลกระทบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

4. ออกแบบกระบวนการ / วิธิการปฏิบัติ เอกสารหลักฐาน

ออกแบบกระบวนการ / วิธีการปฏิบัติงาน ที่ควรปรับปรุงใหม่ รวมถึง สรุปข้อมูลและเอกสารหลักฐานสำคัญที่ควรได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งประเด็นนี้นักบัญชีควรนำเสนอเพื่อให้ผู้บริหารได้รับทราบ พิจารณา และขออนุมัติเป็นลำดับต่อไป และสิ่งสำคัญภายหลังการได้รับการอนุมัติ นักบัญชีควรต้องสื่อสารให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบ และขอความร่วมมือ อันจะนำประโยชน์มาสู่องค์กร

5. กำหนดแนวทางตรวจสอบข้อมูล และเอกสารหลักฐาน

กำหนดแนวทางการตรวจสอบให้ชัดเจน  และควรกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา  เพื่อใช้ตรวจสอบดังนี้   คือ

  1. เพียงพอ เหมาะสม
  2. มีความน่าเชื่อถือ
  3. มีความถูกต้อง
  4. มีความครบถ้วน
  5. ผู้อนุมัติตามระเบียบ

6. ประยุกต์เนื้อหาสาระ / หลักการบัญชี / หลักการภาษี

ประยุกต์เนื้อหาสาระที่รวบรวมมาได้ กับหลักการบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อนำไปสู่การบันทึกบัญชีต่อไป  นักบัญชีควรต้องตอบได้ว่า เนื้อหาสาระไปเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับไหน รวมถึงพิจารณาว่า ภาษีที่เกี่ยวข้องกำหนดให้ปฏิบัติอย่างไร และเราปฏิบัติอย่างถูกต้องหรือไม่

6. กำกับติดตามอย่างใกล้ชิด หมั่นทบทวน กำกับดูแลอย่างสม่ำเสมอ

ควรมีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด และหมั่นทบทวน อย่างน้อยที่สุดภายหลังการปิดงบการเงินประจำปี ควรมีบทสรุปภาพรวม สิ่งที่ควรปรับปรุงคุณภาพในการจัดทำบัญชีเพิ่มเติม ประกอบกับการนำเสนอรายงานทางการเงิน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

 

เนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ E-book

“101 งบการเงิน นักบัญชีมือใหม่ต้องรู้”

ราคา 99 บาท (อ่านออนไลน์ผ่านเว็บหรือแอพ) สั่งซื้อคลิกที่นี่ !!

*วิธีการซื้อ E-book จาก meb : https://bit.ly/3mEWXfR 

tag
No tags defined

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?