7 ขั้นตอน การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG

7 steps ESG risk assessment

ปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการองค์กร ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณหรือไม่? การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG (Environment, Social, Governance) ช่วยให้องค์กรของคุณมองเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ และวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาเรียนรู้ 7 ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยง ESG เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจของคุณ

7 ขั้นตอน การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG

การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG หรือ Environmental, Social, Governance ESG ประกอบด้วยรายละเอียด 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแล

2. เข้าใจบริบทและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ รวมถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

3. ระบุประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

4. ประเมินและจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงด้าน ESG ที่เกี่ยวข้อง

5. ตอบสนองต่อประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

6. ทบทวนและปรับปรุงประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

7. สื่อสารและเปิดเผยประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

ตัวอย่างของความเสี่ยงด้าน ESG

1) ตัวอย่างความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental)

• ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ และการจัดหาวัตถุดิบ
• ผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity) ที่มีต่อกระบวนการผลิตหรือบริการ
• ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Tax)
• สถานที่ก่อสร้างที่มีความเสี่ยงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ
• การเลือกใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย

2) ตัวอย่างความเสี่ยงด้านสังคม (Social)

• การละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน
• การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
• พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป
• ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
• คนในชุมชนไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงงานในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงชุมชน
• พนักงานไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ จึงเป็นความเสี่ยงทำให้ไม่สามารถสร้างคุณค่าที่ตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์กรได้

3) ตัวอย่างความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาล (Governance)

• การที่องค์กรไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
• ความบกพร่องในมาตรการกำกับดูแลภายในองค์กร
• ความเสี่ยงจากการเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีปัญหาด้านคอร์รัปชัน
• การไม่ผ่านกฎระเบียบ เช่น การพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
• การเลือกวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานในการก่อสร้าง ทำให้ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ

การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG (Environment, Social, Governance) ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน การเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อความเสี่ยงในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร แต่ยังสร้างความเชื่อมั่นและคุณค่าที่จะส่งต่อไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

ดูข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับ ESG
ESG แนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1

ESG แนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 2

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?