13 พฤศจิกายน 2562
คน Gen Y ต้องการวิธีการบริหารที่แตกต่างไปจากในอดีต
คือ โครงสร้างการบริหารที่แตกต่างไปจากอดีต คือ โครงสร้างการบริหารที่ยืดหยุ่นกฎระเบียบที่เป็นปัจจุบันทันโลก ไม่มีคำว่าคู่แข่งตลอดกาลและเป็นคู่ค้าคู่ขาได้ ให้โอกาสกับทุกความคิด ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ มองที่ผลประโยชน์มากกว่าการครอบครองเป็นเจ้าของและความคิดสร้างสรรค์คือทางออกของข้อจำกัด
คนที่เป็นหัวหน้างานของลูกน้อง Gen Y ต้องเข้าใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป รวมถึงต้องเปลี่ยนวิธีการบริหารตามไปด้วย และนี่คือ 7A กระบวนการทำงานร่วมกันของคน Gen Y
A1 : Assembly
การจะมอบหมายงาน หรือสั่งการให้ลูกน้องคน Gen Y ทำงานนั้น พวกเขาอยากได้ความเป็นอิสระในการรวมตัว หรืออาสาสมัครตามความสนใจ ความถนัดหรือความสามารถ มากกว่าการมอบหมายหรือสั่งให้ต้องทำงานชิ้นนี้ร่วมกัน
A2 : Agrue
เมื่อพวกเขารวมตัวกันได้แล้ว ในฐานะของนายหรือผู้บริหารก็ต้องไม่ยึดติดกฎเกณฑ์ ปล่อยให้พวกเขาโต้เถียงถึงวิธีการ เกณฑ์การทำงานร่วมกันตลอดจนการตั้งเป้าหมายหรือการวัดประเมินผลปฏิบัติงานกันอย่างเต็มที่
A3 : Agree
เมื่อได้ข้อสรุปที่ตกลงกันได้แล้ว พนักงาน Gen Y ก็จะยอมรับและรับรู้บทบาท รู้หน้าที่ของแต่ละคนอย่างชัดเจน
A4 : Act
เมื่อยอมรับและเห็นด้วย พวกเขาจะมุ่งมั่นตั้งใจในภารกิจที่ต่างคนต่างได้ยอมรับและยินดีปฏิบัติภารกิจนั้น
A5 : Across a obstacle
เมื่อทำงานแล้วพบปัญหาพนักงานคน Gen Y จะเรียนรู้ร่วมด้วยช่วยกันฝ่าฝันแก้ปัญหาและอุปสรรค ผู้เป็นนายจะต้องอดทนรอ ให้เวลา และให้กำลังใจ ด้วยความเชื่อมั่นในขีดความสามารถของพวกเขา
A6 : Assess
ขั้นของการประเมินหรือวัดผลนั้น หากผลลัพธ์ล้มเหลวแล้วผู้บริหารจะทำอย่างไร ซึ่งเจ้านายที่จะได้ใจจากลูกน้องคนกลุ่ม Gen Y ก็คือ 1. ให้เกียรติ 2. ให้อภัย 3. ให้กำลังใจ 4. ให้โอกาส 5. ให้มีส่วนร่วม 6. ให้แนวทาง และ 7. ให้ความยุติธรรม
A7 : Award
การมอบรางวัล ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นการปิดจ๊อบในการทำงานร่วมกันของคน Gen Y โดยมีหลักและเหตุผลในเชิงจิตวิทยาการบริหารบุคคลว่า “ไม่ว่าผลลัพธ์ของการทำงานนั้นจะออกมาเช่นไร?” ก็ต้องเฉลิมฉลอง เลี้ยงส่งท้ายจากลากันด้วย “ความรู้สึก ความทรงจำที่ดีต่อกันมิรู้ลืม”
บทความ : 7A กระบวนการทำงานร่วมกันของคน Gen Yโดย พรเทพ ฉันทนาวี
วารสาร HR Society Magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 201 กันยายน 2562
—–
แหล่งที่มา : www.facebook.com/dharmnitigroup