18 เมษายน 2563
“ใบกำกับภาษี” เป็นอีกเรื่องที่หลายคนมักจะสงสัยกันบ่อยๆ นะครับ วันนี้มีจึงมีความแตกต่างของใบกำกับภาษีทั้ง 2 รูปแบบและข้อควรรู้ที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากกันนะครับ
*ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 45)
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice)
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) เป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจัดทำและออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้ง
เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
ประเภทของใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีมี 2 รูปแบบ ได้แก่
• ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
• ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
เอกสารอื่น ๆ ที่ถือเป็นใบกำกับภาษี โดยผู้ออกจะต้องเป็นส่วนราชการเท่านั้น คือ
• ใบเพิ่มหนี้
• ใบลดหนี้
• ใบเสร็จรับเงิน
เปรียบเทียบใบกำกับภาษี
• ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
1.ต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” ชัดเจน
2.วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
3.เลขที่ใบกำกับภาษี
4.ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ ราคา
5.ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย และชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ
6.ราคาสินค้าบริการ ระบุราคาและ VAT แยกไว้ชัดเจน
7.ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
- ระบุ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
- ระบุ สำนักงานใหญ่/สาขาที่… ของผู้ขาย
- ระบุ สำนักงานใหญ่/สาขาที่… ของผู้ซื้อ
• ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
1.ต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ“
2.วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
3.เลขที่ใบกำกับภาษี
4.ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ ราคา
5.ชื่อ/ชื่อย่อ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
6.ราคาสินค้าบริการ ระบุยอดรวมว่าได้รวม VAT ไว้ชัดเจน
7.ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่45)
ข้อควรรู้เกี่ยวกับใบกำกับภาษี
• ผู้ที่มีสิทธิในการออกใบกำกับภาษี ต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น
• ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เรียกว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
• หากขายสินค้าหรือให้บริการครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี แต่ถ้าลูกค้าร้องขอต้องออกใบกำกับภาษีให้