05 ตุลาคม 2562
การจัดทำงบการเงินรวมจะสามารถทำให้ผู้อ่านงบการเงิน รับรู้ถึงกิจกรรมทางบัญชี และสถานะการเงินของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยได้ดีกว่า และลึกซึ้งกว่าการอ่านงบการเงินเดี่ยวของบริษัท
แนวคิดเริ่มแรกของการจัดทำงบการเงิน รวมก็เพื่อให้ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และเจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากงบการเงินรวมจะทำให้ผู้ถือหุ้น และเจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่เห็นภาพว่า ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ ที่อยู่ในความควบคุมของบริษัทใหญ่มีเท่าใด ในทางบัญชีแล้ว แม้ว่าจะมีวิธีที่สามารถแสดงส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่ โดยการบันทึกบัญชี “เงินลงทุน” (ซึ่งก็ไม่ต้องทำงบการเงินรวม) อย่างไรก็ตามเมื่อบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทย่อยหลายๆบริษัท การทำงบการเงินรวมอาจถือว่าเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่ได้ประโยชน์จากการอ่านงบการเงิน โดยสรุปแล้วการทำงบการเงินรวมจะมีประโยชน์ต่อบุคคลหลายๆ ฝ่าย ดังนี้
1. นักลงทุนระยะยาว
งบการเงินรวมจะมีประโยชน์มากต่อนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนระยะยาวในบริษัทใหญ่ เนื่องจากผู้ถือหุ้นในปัจจุบันหรือผู้ที่จะลงทุนในบริษัทใหญ่ คือผู้ที่จะมีส่วนได้เสีย ในบริษัทใหญ่ และส่วนได้เสียที่บริษัทใหญ่เข้าไปถือหุ้นในบริษัทย่อย ทั้งนี้การที่บริษัทใหญ่จะมีผลประกอบการที่ดีนั้น มีส่วนมาจากผลประกอบการย่อย ของบริษัทย่อย หากบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิบริษัทใหญ่ก็ได้รับส่วนได้เสีย ในกำไรของบริษัทย่อย แต่ในทางตรงกันข้ามหากบริษัทย่อยเกิดขาดทุนขึ้น บริษัทใหญ่ก็จะรับรู้ส่วนได้เสียในขาดทุนของบริษัทย่อย การพิจารณางบการเงินรวมจึงทำให้ผู้ถือหุ้น สามารถพิจารณาลงทุนได้อย่างมีประสิทธิผล
2. เจ้าหนี้ระยะยาวเจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่
ที่ต้องการทราบผลประกอบการของบริษัทย่อยในความควบคุมของบริษัทใหญ่ การทราบผลประกอบการของบริษัทย่อยผ่านการทำงบการเงินรวมเท่านั้น จะทำให้เจ้าหนี้ระยะยาวของบริษัทใหญ่สามารถประเมินความเสี่ยง และผลประกอบการของบริษัทใหญ่ได้สำหรับเจ้าหนี้ระยะสั้นนั้น ความจำเป็นในการอ่านงบการเงินรวมอาจไม่มากนัก เนื่องจากเจ้าหนี้ระยะสั้นจะสนใจต่อสภาพคล่องระยะสั้นของบริษัทใหญ่ มากกว่าผลประกอบการในอนาคตของบริษัทใหญ่ ฉะนั้นแม้ว่าเจ้าหนี้ระยะสั้นอาจได้ประโยชน์จากการอ่านงบการเงินรวม แต่ส่วนใหญ่แล้วเจ้าหนี้ระยะสั้นจะสนใจงบดุลเดี่ยวของบริษัทแม่
3. ผู้บริหารของบริษัทใหญ่
การจัดทำงบการเงินทั้งงบการเงินเดี่ยวและงบการเงินรวมล้วนมีประโยชน์ต่อ ผู้บริหารของบริษัทใหญ่ เช่น บริษัทย่อยหลายรายมีผลประกอบการที่ผันผวนมาก กล่าวคือบางปีมีกำไรและบางปีมีขาดทุน ซึ่งถ้าไม่ดูงบการเงินรวมแล้วผู้บริหารของบริษัทใหญ่อาจไม่ทราบผลประกอบการโดยรวมที่แท้จริงของบริษัทย่อยเหล่านั้นได้ นอกจากนี้การทำงบการเงินรวมจะทำให้ผู้บริหารของบริษัทใหญ่ สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม เพื่อทำให้กลุ่มบริษัทสามารถมีต้นทุนทางการเงินต่ำที่สุด
4. ผู้เกี่ยวข้องอื่น
นอกจากผู้ถือหุ้นเจ้าหนี้และผู้บริหารจะสนใจอ่านงบการเงินรวมแล้ว นักวิเคราะห์ทางการเงินก็จำเป็นต้องทราบรายละเอียดผลประกอบการ ของกลุ่มบริษัทรัฐบาลหรือองค์กรภาครัฐ เช่น กรมสรรพากร ตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. ล้วนแต่ต้องการทราบข้อมูลในงบการเงินรวมทั้งสิ้น
สรุป
งบการเงินรวมจัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว หลักเกณฑ์ทางปฏิบัติการกำหนดว่าเมื่อใดควรจัดทำงบการเงินรวมคือ ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทอื่นเกินเกินกว่า 50% ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทอื่นเกินกว่า 50% ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทนั้นเป็นบริษัทย่อยและให้จัดทำงบการเงินรวม ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วมในสัดส่วน 20% แต่ไม่เกิน 50% นั้น ไม่จำเป็นต้องจัดทำงบการเงินรวม แต่ให้บริษัทใหญ่บันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 45 เรื่อง “การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม”
——
แหล่งที่มา : www.jobdst.com