ความหมายของ “ทายาท” ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2553

05 ตุลาคม 2562

“ทายาท” ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 หมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

คำว่า “ทายาท” ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา หมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงแต่ประการใด

โจทก์ นาย ก. (โดยนาย บ. ผู้เข้าเป็นคู่ความแทน) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ ขอให้บังคับจำเลย(สำนักงาน ป.) จ่ายเงินสงเคราะห์กรณีตายและเงินบำเหน็จชราภาพพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ (ระหว่างพิจารณาโจทก์ นาย ก. ถึงแก่ความตาย นาย บ. ทายาทของโจทย์ยืนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน และศาลอนุญาต)

โจทก์ นาย ก. ซึ่งเป็นบิดาของ น.ส. น. ตามความเป็นจริง แต่ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็น “ทายาท” ผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง(3) หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความว่า “บิดา” และคำว่า “ทายาท” ว่ามีความหมายอย่างใด เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามมาตราต่าง ๆ ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 จะเห็นได้ว่า มีการบัญญัติแตกต่างกันชัดเจน กล่าวคือ ใน

• มาตรา 73 (1) การจ่ายเงินค่าทำศพให้จ่ายแก่ “บุคคล” ตามลำดับ ดังนี้…

• มาตรา 73 (2) การจ่ายส่งเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้จ่ายแก่ “บุคคล” ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น…

• มาตรา 75 จัตวา การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรแก่ “บุคคล” ตามลำดับ ดังนี้…

• แต่ในมาตรา 77 จัตวา บัญญัติไว้ชัดเจนแตกต่างจากมาตราดังกล่าวในข้างต้น โดยบัญญัติว่า “ทายาท” ของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ “ทายาท” ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง ได้แก่

1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นบุตรบุญธรรมซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น…

2. สามีหรือภริยา…

3. บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่…

เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวใช้คำว่า “บุคคล” กับ “ทายาท” แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะให้มีความหมายแตกต่างกัน และคำว่า “ทายาท” ซึ่งเป็นถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมายจึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า “ทายาท” ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ในกรณีนี้ก็คือ บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ซึ่งมีบทบัญญัติถึงคำว่า “ทายาท” อยู่ในมาตรา 1559 เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ , มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม … , มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดมารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา …

โดยคำว่า “ทายาท” ในบทบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงเฉพาะทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น คำว่า “ทายาท” ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา จึงต้องหมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงด้วยแต่ประการใด และเมื่อโจทก์เป็นบิดาตามความเป็นจริง แต่มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน และมิใช่ทายาที่ชอบของผู้ประกันตน จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ศาลแรงงานภาค 7 วินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยในส่วนนี้ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนเงินบำเหน็จชราภาพพร้อมดอกเบี้ย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2553

—-

แหล่งที่มา : www.jobdst.com

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?