แนะนำจัดการภาษีด้วยตัวเอง เมื่อต้องออกจากงาน

แนะนำจัดการภาษีด้วยตัวเอง เมื่อต้องออกจากงาน

12 ธันวาคม 2562

3 สิ่งที่จะได้รับจากนายจ้าง เมื่อโดนไล่ออก

1. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

อัตราเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจะคิดตามอายุงาน โดยใช้อัตราเงินเดือนล่าสุดในการคำนวณเงินชดเชย

* ถ้าถูกไล่ออกเพราะความผิดร้ายแรงบางอย่างของตัวลูกจ้างเอง จะไม่ได้รับเงินชดเชย
** ตามมาตรา 118 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
การได้รับเงินชดเชยเพราะถูกเลิกจ้างหรือไล่ออก จะได้รับยกเว้นภาษีสำหรับ 300,000 บาทแรก แต่ส่วนที่เกินจากนั้นจะต้องนำมาเสียภาษี

ตัวอย่าง
ถ้าได้รับค่าชดเชยมาในอัตรา 240 วัน เป็นเงิน 360,000 บาท ค่าชดเชยที่ได้รับ 300,000 บาทแรก จะได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนที่เหลือ 60,000 บาท ต้องนำมาเสียภาษี

2. เงินอื่น ๆ ที่นายจ้างให้จากการลาออก

• เงินจ้างที่จ่าย เมื่อถูกเลิกจ้างกะทันหัน
• ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้
• เงินเดือนที่ยังค้างชำระ
• ค่าเสียหายที่เรียกร้องจากการถูกเลิกจ้าง
• เงินบำเหน็จอื่น ๆ

เงินอื่น ๆ ที่นางจ้างให้ เสียภาษีอย่างไรให้คุ้ม?

3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สะสมไว้

เราสามารถจัดการได้อย่างไร ?

1. ถอนเงินสดออกจากกองทุนเลี้ยงชีพ

2. เก็บเงินไว้ในกองทุนเดิมก่อน

เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในกองทุนเดิมที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ

ข้อแนะนำ

– ต้องเช็กให้ดีว่ากองทุนที่เราอยู่ให้เราเก็บเงินไว้ในกองทุนนานเท่าไหร่
– คำนึงถึงค่าธรรมเนียม

3. โอนเงินไปกองทุนของที่ทำงานใหม่

– ทำได้ก็ต่อเมื่อหางานใหม่ได้ ภายใน 90 วัน สามารถโอนไปกองทุนใหม่ได้ทันที โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ

4. ย้ายไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

– สามารถทำได้ โดยไม่ถือว่าเอาเงินออกจากกองทุนเลี้ยงชีพ และได้สิทธิไม่ต้องเสียภาษี
– RMF ไม่สามารถใช่สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มได้

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?