15 เมษายน 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. …. ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการแบ่งกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs ) ซึ่งผู้ประกอบการควรรู้ไว้ครับ
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการแบ่งกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs ) ซึ่งผู้ประกอบการควรรู้และทำความเข้าใจไว้มีดังนี้ครับ
1.ปรับนิยามวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ใช้จำนวนการจ้างงานและรายได้ของกิจการ (เปลี่ยนจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวร) เป็นเกณฑ์ในการกำหนดขนาดกิจการ
- แบ่งประเภทกิจการเป็น
1.กิจการผลิตสินค้า
2.กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง หรือกิจการค้าปลีก
กิจการ | วิสาหกิจขนาดย่อม | วิสาหกิจขนาดกลาง | ||
จำนวนการจ้างงาน (คน) |
รายได้/ปี (ล้านบาท) |
จำนวนการจ้างงาน (คน) |
รายได้/ปี (ล้านบาท) |
|
กิจการผลิตสินค้า | ไม่เกิน 50 | ไม่เกิน 100 | เกินกว่า 50 – 200 | เกินกว่า 100 – 500 |
กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก |
ไม่เกิน 30 | ไม่เกิน 50 | เกินกว่า 30 – 100 | เกินกว่า 50 – 300 |
2. จำนวนการจ้างงานและรายได้ให้พิจารณาจากหลักฐานดังนี้
2.1 จำนวนการจ้างงาน ให้พิจารณาจากหลักฐานแสดงจำนวนการจ้างงานที่ได้จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด
2.2 จำนวนรายได้ ให้พิจารณาจากรายได้รวมที่ระบุไว้ในงบการเงินที่ได้จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายว่าด้วยการบัญชีกำหนดหรือเอกสารบัญชีแสดงรายได้
3.ถือรายได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ในกรณีที่กิจการมีจำนวนการจ้างงานที่เข้าลักษณะของวิสาหกิจประเภทหนึ่ง แต่มีรายได้ที่เข้าลักษณะของวิสาหกิจอีกประเภทหนึ่ง ให้ถือรายได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ที่มา : สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 พฤศจิกายน 2562 https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24831