11 มีนาคม 2565
วิธีทำสัญญาขายฝากให้ถูกต้อง
1.ต้องทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
2.ระบุชื่อและที่อยู่คู่สัญญา
3.ระบุว่าเป็นที่ดินเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย
4.กำหนดวันที่ขายฝากและวันครบรอบกำหนดไถ่คืน
5.กำหนดราคาขายฝากและจำนวนทรัพย์สินไถ่คืน
วิธีไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืน
ผู้ซื้อฝากต้องทำหนังสือแจ้งผู้ขายฝาก โดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
– วันครบกำหนดไถ่คืน
– จำนวนเงินที่ต้องไถ่คืน
– สถานที่ไถ่คืน
– ผู้รับไถ่คืน
จ่ายค่าไถ่ทรัพย์สินคืน
ไถ่กับใครได้บ้าง
– ผู้ซื้อฝาก
– ทายาท (กรณีผู้ซื้อตาย)
– ผู้รับโอนทรัพย์ที่ขายฝาก
ใครไถ่ได้บ้าง
– ผู้ขายฝาก
– ทายาท
– ผู้รับโอนสิทธิทางนิติกรรมสัญญา
วางทรัพย์ที่หน่วยงานรัฐ
เมื่อมีเหตุจำเป็น ทำให้ไถ่กับผู้ซื้อฝากไม่ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันครบรอบกำหนดไถ่คืน หรือเหตุที่ทำให้ไม่อาจใช้สิทธิไถ่ได้
– สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ
– สำนักงานที่ดินจังหวัดทั่วประเทศ
– สำนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนการขายฝาก
ผลของการทำสัญญาขายฝาก
1.ผู้ซื้อฝากได้กรรมสิทธิ์ทันที จนกว่าผู้ขายฝากจะมาไถ่คืน
2.ผู้ขายฝากยังใช้ประโยชน์จากทรัพย์ได้จนกว่าจะหมดเวลาไถ่คืน
3.ผู้อื่นที่ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ขายฝาก เช่น ผู้ขายฝากให้ผู้อื่นเช่าที่ดินทำไร่ มีเงื่อนไขดังนี้
*ก่อน ทำสัญญาขายฝาก ค่าเช่าเป็นของผู้ขายฝาก
*หลัง ทำสัญญาขายฝาก ต้องตกลงกันว่าให้ค่าตอบแทนเป็นของใคร
*ถ้าไม่ได้ตกลงกัน ค่าตอบแทนเป็นของผู้ซื้อฝาก
หากไถ่คืนไม่ทันเวลาที่สัญญากำหนด
1.ต้องส่งมอบทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
2.หากมีผลผลิตจากการเกษตรต้องขนย้ายภายใน 6 เดือน