โมฆะ และ โมฆียะ มีนิติสัมพันธ์ที่ต่างกันอย่างไร

21 กุมภาพันธ์ 2565

โมฆะ และ โมฆียะ มีนิติสัมพันธ์ที่ต่างกันอย่างไร

โมฆะ คืออะไร

โมฆะ หมายความว่า เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย เช่น สัญญาเป็นโมฆะ
ดังนั้น โมฆกรรม จึงหมายความว่า นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ถือเป็นนิติกรรมที่เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น เสมือนไม่เคยเกิดนิติกรรมนั้นขึ้นเลย

โมฆียะ คืออะไร

โมฆียะ หมายความว่า อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน
ดังนั้น โมฆียกรรม จึงหมายความว่า นิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายตั้งแต่ทำนิติกรรมจนกว่าจะถูกบอกล้างซึ่งหากถูกบอกล้างก็จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ ย้อนไปถึงขณะเริ่มทำนิติกรรม

 

สาเหตุการเกิดโมฆะ และโมฆียะ

โมฆะ

1.แบบของนิติกรรมไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบังคับไว้

2.มีวัตถุประสงค์ของนิติกรรมที่ไม่สุจริต

3.มีการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม

โมฆียะ

1.ความบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความสามารถ เช่น ความเป็นผู้เยาว์ความเป็นคนเสมือนไร้สามารถ

2.ความบกพร่องเรื่องการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด ถูกฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่

 




การบอกล้าง

การบอกล้างโมฆียกรรม จะทำให้นิติกรรมนั้น มีผลเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มต้น โดยสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้
1.จะต้องทำการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดต่อคู่สัญญา กล่าวคือ มีการแจ้งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งว่า ต้องการบอกล้างหรือยกเลิกนิติสัมพันธ์ตามนิติกรรมดังกล่าว
2.การบอกล้างอาจบอกได้ทั้งทางวาจาหรืออาจทำเป็นหนังสือก็ได้

 

ระยะเวลาการบอกล้าง

โมฆียกรรมนั้น จะต้องมีการบอกล้างภายใน 1 ปี นับจากระยะเวลาดังต่อไปนี้
1.พ้นจากการเป็นผู้เยาว์ การเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลลวิกลจริต
2.รู้ถึงสาเหตุสำคัญผิด ฉ้อฉล หรือพ้นจากการข่มขู่
3.ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ รู้ถึงนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆียะนั้น
4.ผู้ทำนิติกรรมสิ้นสภาพบุคคลแล้ว ทายาทของผู้ทำนิติกรรมมีสิทธิบอกล้างแทน
โมฆียกรรมที่ทำขึ้นถึง 10 ปี ไม่สามารถบอกล้างได้

 

ผลทางกฎหมาย

โมฆะ

1.นิติกรรมเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น
2.ไม่มีการเคลื่อนไหวในสิทธิ
3.สามารถเอาความเป็นโมฆะของนิติกรรมมากล่าวอ้างได้เสมอ
4.ไม่สามารถทำให้นิติกรรมสมบูรณ์ได้ นอกจากทำขึ้นใหม่
5.นำหลักลาภมิควรได้มาใช้บังคับ

โมฆียะ
1.นิติกรรมมีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง
2.หากมีการบอกล้าง นิติกรรมจะตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรก และให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
3.หากมีการให้สัตยาบันแล้ว จะสมบูรณ์ตลอดไป ไม่อาจบอกล้างได้อีก

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?