รู้ก่อนสาย! ถูกเลิกจ้างแบบไหน หมดสิทธิได้ค่าชดเชยและเงินทดแทน

13 มีนาคม 2566

 

การถูกเลิกจ้างอย่างกระทันหัน หรือเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้เต็มใจออกจากงานเอง มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี ซึ่งหากเป็นการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิรับการชดเชยต่างๆ ตามกฎหมายกำหนด แต่หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิด ฝั่งนายจ้างมีสิทธิที่จะให้ออกจากงานได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย รวมทั้งลูกจ้างเองยังไม่สามารถขอรับเงินทดแทนจากประกันสังคมได้ด้วย

ค่าชดเชยคืออะไร?

ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยการจ่ายค่าชดเชยจะเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายแรงงานเกี่ยวกับการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งพิจารณาอัตราค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง

เงินทดแทนกรณีว่างงานคืออะไร?

เงินทดแทนกรณีว่างงานคือสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา โดยเมื่อผู้ประกันตนดำเนินการขึ้นทะเบียนว่างงานเรียบร้อยแล้ว และมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามข้อกำหนด สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน

6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกจ้างที่ออกจากงานแล้วว่างงาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนด กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้มีการกระทำความผิดใดๆ

แต่หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำความผิด หรือมีเหตุบางประการที่เข้าข่ายเงื่อนไขทำให้นายจ้างสามารถให้ออกจากงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างจะไม่สามารถรับสิทธิชดเชย หรือทดแทนใดๆ ได้ ตามกรณีต่อไปนี้

1. ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจากจ้างกรณีทุตจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง มักเกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตัวเอง

2. จงใจทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย

ลูกจ้างที่ดำเนินการต่างๆ โดยความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะสร้างความเสียหายให้กับนายจ้าง หรือบริษัท ถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิดโดยบริษัทสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

3. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบการทำงานอย่างร้ายแรง

การทำงานแต่ละที่ย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งจากนายจ้างที่ต้องถือเป็นข้อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นหากลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนหรือทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดซ้ำๆ แม้ได้รับจดหมายตักเตือนแล้ว นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย

4. ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกัน 3 วันทำงาน โดยไม่มีเหตุอันควร

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งลา ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่สามารถติดต่อได้ต่อเนื่อง 3 วันทำงาน และทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย และไม่มีเหตุผลอธิบายการละทิ้งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลมากพอ ถือว่าเข้าข่ายถูกเลิกจ้างได้โดยไม่ได้รับสิทธิชดเชยใดๆ

5. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง

ความประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทําการใดๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทํา
นายจ้างที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างที่กระทำการใดๆ โดยขาดความระมัดระวัง ทั้งที่สามารถคาดการณ์เห็นได้ชัดว่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้น นายจ้างสามารถแจ้งเลิกจ้างและไม่จ่ายเงินชดเชยกับลูกจ้างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

ลูกจ้างที่กระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิให้ออกจากงานได้ทันทีโดยปริยาย และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชยหรือเงินทดแทนต่างๆ ได้
การถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงานอาจเป็นฝันร้ายของหลายๆ คน ยิ่งกรณีที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าอาจทำให้การใช้ชีวิตหลังออกจากงานนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ยิ่งการออกโดยมีความผิดติดตัว นอกจากจะเสียโอกาสในหน้าที่การงานแล้ว ยังเสียโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ ด้วย

 

ข้อมูลอ้างอิง
www.mol.go.th
www.sso.go.th
www.labour.go.th

 

หนังสือ “กฏหมายแรงงาน 2564”

รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงาน Update ณ มิถุนายน ปี 2564 ใช้เป็นคู่มือทางการศึกษา และปฏิบัติงาน
กฎหมายในเล่มประกอบไปด้วย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน, พระราชบัญญัติประกันสังคม, พระราชบัญญัติเงินทดแทน

ผลวิเคราะห์กระแสในโลกออนไลน์

ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ มาดูกระแสบนโลกออนไลน์กันว่ามีการพูดถึงหรือค้นหา “ค่าชดเชยเลิกจ้าง” อย่างไร โดยเราใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Zanroo Search ใช้ในการค้นหา พบว่ามีการพูดถึงกันมากบนโลกออนไลน์ โดยใช้ค้นหาข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2563 ช่วงวันที่มีการพูดถึงเรื่องค่าชดเชยเลิกจ้างมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 17 เมษายน 2563 โดยส่วนใหญ่พูดถึงผ่านช่องทาง News

 

 

โดยมีการพูดถึง “ค่าชดเชยเลิกจ้าง” ทั้งหมด 45 ข้อความ ซึ่งช่องทางที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ News จำนวน 22 ข้อความ

 

 

จะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่ได้รับความนิยมและผู้คนมีส่วนร่วมมากที่สุด มาจากช่องทาง Facebook โดยเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบินไทยเปิดสิทธิชดเชยพนักงานบินไทยหากถูกเลิกจ้าง ซึ่งมีการเข้าชมมากกว่า 1,008 ครั้ง

 

 

นอกจากนั้น เครื่องมือ Zanroo ยังสามารถบอกได้อีกว่า แต่ละ Channel ที่มีการพูดถึง “ค่าชดเชยเลิกจ้าง” นั้น ผู้โพสต์หรือผู้มีส่วนรวม มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจากภาพแสดงได้ว่าผู้คนมีการกดไลค์ คอมเมนต์ และมองเห็นเป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถดูความรู้สึกได้จาก Emoji ได้อีกด้วย

 

และสุดท้าย โพสต์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นของ สำนักข่าวเนชั่น มีทั้งหมด 2 โพสต์ และส่วนของ Influencer นั้น อันดับ 1 คือ การเมืองไทย ในกะลา ที่ผู้คนมีส่วนร่วมมากถึง 1,008 ข้อความต่อโพสต์

 

สุดท้าย ต้องขอขอบคุณสำหรับเครื่องมือ Zanroo Search ที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลและการเปรียบเทียบเพื่อทำการตลาดที่ง่ายขึ้น หากใครที่สนใจสามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://www.zanroo.com/

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?