11 มีนาคม 2565
แชร์ข่าวลวง
ข่าวสารหรือสื่อที่บิดเบือนความจริง ที่แพร่หลายในออนไลน์
• การแชร์เนื้อหาที่มีหัวข้อไม่ตรงกับเนื้อหาข้างใน
• การสร้างข้อมูลปลอมเพื่อหวังผลประโยชน์
• การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแก่สาธารณะและบุคคลอื่น
ระวัง! ในสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 มีข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ยังไม่ได้ถูกยืนยัน ควรระวังเป็นอย่างมากเวลาจะแชร์โพสต์ต่าง ๆ
โทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ ไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
แชร์ร้านตนเองหรือฝากร้านบนโพสต์ผู้อื่น
การฝากร้าน คือ การโฆษณาร้านตัวเองลงบนโพสต์ของผู้อื่น
เมื่อไหร่ผิดกฎหมาย?
หากเจ้าของโพสต์ไม่อนุญาตให้โฆษณาหรือฝากร้าน การแชร์ร้านตัวเองลงไปในคอมเมนต์หรือเพจนั้น ๆ มีความผิดทางพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
มีโทษปรับสูงสุด ไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้ง
แชร์ภาพศพ
ทำไมแชร์ภาพศพถึงผิดกฎหมาย?
การแชร์ภาพผู้เสียชีวิตถือเป็นการดูหมิ่นศพ ญาติของผู้เสียชีวิต สามารถฟ้องร้องได้ เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติผู้เสียชิวิต แม้จะเป็นโพสต์การแสดงความเสียใจก็ตาม
ระวัง! เทรนด์ #blacklivesmatter* เป็นเทรนด์ต่อต้านความรุนแรงของตำรวจต่อคนผิวสีซึ่งมีการประจานความรุนแรงออกมาให้ทุกคนเห็น หากพบเห็นภาพคนเสียชีวิต ไม่ควรแชร์!!
โทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
แชร์ภาพที่ชักจูงในการดื่มแอลกอฮอล์
ภาพเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ทางการค้า ซึ่งการโพสต์โดยไร้เจตนาและคำพูดชักชวนนั้นไม่มีความผิดทางกฎหมาย
บุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้คนจำนวนมาก เช่นดารา หรือคนที่มีคนติดตามเป็นจำนวนมาก จะไม่สามารถโพสต์หรือแชร์รูปคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เพราะถือเป็นการชักจูงคนจำนวนมาก ให้สนใจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นับเป็นความผิด
โทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ ไม่เกิน 5 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
แชร์ภาพและบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
• แชร์ภาพของบุคคลอื่น
• แชร์ผลงานของบุคคลอื่นโดยไม่ให้เครดิต
• แชร์หรือโพสต์ภาพแอบถ่ายของบุคคลอื่น
เช็คก่อนแชร์
• ให้เครดิต
• หากคัดลอกเนื้อหาบนเว็ปไซต์ต้องให้แหล่งอ้างอิง
• ไม่โพสต์ไม่แชร์ภาพผู้อื่นหากไม่ได้รับอนุญาต
โทษ ปรับสูงสุด 1 แสนบาท
หากมีเจตนาทางการค้า
โทษ จำคุกสูงสุด 2 ปี หรือ ปรับสูงสุด 4 แสนบาท