23 กุมภาพันธ์ 2565
วันหยุด
หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้าง หยุด ซึ่งสามารถแบ่งตาม พ.รบ. คุ้มครองแรงงาน ได้เป็น 3 ประเภท
วันหยุดประจำสัปดาห์
วันหยุดตามประเพณี
วันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดทั้ง 3 ประเภท
วันหยุดประจำสัปดาห์
• ต้องจัดให้มีวันหยุดไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
• ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง)
• นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
• งานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานประมง งานดับเพลิง หรืองานอื่น ๆ นายจ้างและลูกจ้างต้องตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 4 สัปดาห์
วันหยุดตามประเพณี
• ต้องจัดให้มีวันหยุดไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน
• ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี
• นายจ้างพิจารณาวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือประเพณีท้องถิ่น
• กรณีที่วันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ลูกจ้างหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป
วันหยุดพักผ่อนประจำปี
• ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน
• ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
• หากลูกจ้างทำงานยังไม่ครบ 1 ปี อาจให้หยุดตามส่วนได้
• ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างรู้ล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน
• นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสม หรือเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้
มาตรา 62
ค่าทำงานในวันหยุด
ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีก ไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
มาตรา 63
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
ในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
มาตรา 64
หากนายจ้างไม่ได้จัดวันหยุดให้ลูกจ้าง หรือจัดให้หยุดน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 28, 29, 30ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงาน
ผลวิเคราะห์กระแสในโลกออนไลน์
ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ มาดูกระแสบนโลกออนไลน์กันว่ามีการพูดถึงหรือค้นหา “กฎหมายแรงงาน” อย่างไร โดยเราใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Zanroo Search ใช้ในการค้นหา พบว่ามีการพูดถึงกันมากบนโลกออนไลน์ โดยใช้ค้นหาข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 8 ตุลาคม 2563 ช่วงวันที่มีการพูดถึงเรื่องกฎหมายแรงงานมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 23 กันยายน 2563 โดยส่วนใหญ่พูดถึงผ่านช่องทาง Twitter
โดยมีการพูดถึง “กฎหมายแรงงาน” ทั้งหมด 470 ข้อความ ซึ่งช่องทางที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ Twitter จำนวน 127 ข้อความ
จะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่ได้รับความนิยมและผู้คนมีส่วนร่วมมากที่สุด มาจากช่องทาง Youtube โดยเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมีการเข้าชมมากกว่า 15,362 ครั้ง
นอกจากนั้น เครื่องมือ Zanroo ยังสามารถบอกได้อีกว่า แต่ละ Channel ที่มีการพูดถึง “กฎหมายแรงงาน” นั้น ผู้โพสต์หรือผู้มีส่วนรวม มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจากภาพแสดงได้ว่าผู้คนมีการกดไลค์ คอมเมนต์ และแชร์เป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถดูความรู้สึกได้จาก Emoji ได้อีกด้วย
และสุดท้าย โพสต์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นของเพจ Bussagorn Sanookka มีทั้งหมด 8 โพสต์ และส่วนของ Influencer นั้น อันดับ 1 คือ Volcelabour ที่ผู้คนมีส่วนร่วมมากถึง 371 ข้อความต่อโพสต์
สุดท้าย ต้องขอขอบคุณสำหรับเครื่องมือ Zanroo Search ที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลและการเปรียบเทียบเพื่อทำการตลาดที่ง่ายขึ้น หากใครที่สนใจสามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://www.zanroo.com/