หมิ่นประมาทเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานมีความผิด

21 กุมภาพันธ์ 2565

 

การหมิ่นประมาทเพื่อนร่วมงาน

ในสถานประกอบการ การหมิ่นประมาทเพื่อนร่วมงานนั้นเป็นได้ทั้งความผิดในทางอาญาและแพ่ง รวมทั้งอาจมีความผิดทางวินัยในกฎระเบียบของทางบริษัทด้วย

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

“ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

การใส่ความ

หมายถึง การยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเป็นความจริงหรือเท็จก็ได้ รวมถึงการเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟัง อาจเป็นการใช้คำพูด การเขียน ส่งทางไลน์ โซเชียลมิเดียต่าง ๆ  หรือการแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวหาผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้

แต่หากการใส่ความนั้นเป็นเพียง “คำหยาบ” “คุลมเครือ” “ไม่ชัดเจน” ยังไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

 

ลักษณะของการ หมิ่นประมาท

1.ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นเพียง คำหยาบ หรือ ข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ ต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟังเชื่อแล้วเกิดความรู้สึกเกลียดชังดูหมิ่นขึ้นได้

2.ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ คลุมเครือ หรือ เลื่อนลอย

3.ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันในอดีตหรือในปัจจุบัน ไม่ใช่การคาดคะเน” “คาดเดาหรือ การกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต

 

ลักษณะของการ ใส่ความ

1.การใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติ ใส่ความว่า กระทำทุจริต

2.การใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติไม่เหมาะสมหรือ ไม่สมควรในทางเพศ

3.การใส่ความเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงาน เช่น การนำข้อความเท็จไปร้องเรียนต่อหัวหน้างาน กล่าวหาว่าผู้ร่วมงานทำความผิด

4.การใส่ความเกี่ยวกับเรื่องสถานะทางการเงิน เช่น กล่าวหาว่ายักยอกเงินนายจ้าง

 

การ ใส่ความที่ยกเว้น

1.เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนเอง หรือ ส่วนได้ส่วนเสียของตน

2.ในฐานะเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามหน้าที่

3.ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนที่พึงกระทำ

4.ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือการประชุม

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329

“ผู้ให้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต” เพื่อการใน 4 ข้อ ที่กล่าวมา

 

การดำเนินคดีความผิดอาญา

เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดหากเกิน 3 เดือน จะหมดอายุความ

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

“ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330

“ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อหาที่หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?