กฎหมาย e-Service คืออะไร ?
กฎหมาย e-Service หรือ ภาษี e-Service คือ วิธีการจัดเก็บ VAT จากผู้ให้บริการต่างประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทาง Online แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้อำนาจกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ ในอัตรา 7% ต่อปี ซึ่งให้เสียภาษีจาก “ภาษีขาย” โดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก
เริ่มใช้เมื่อไร ?
มีผลบังคังใช้ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป โดยได้เผยแพร่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา
สาระสำคัญ
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53)
1. แก้ไขเพิ่มเติมให้การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นตามประมวลรัษฎากร สามารถดำเนินการด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
2. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สินค้า” และเพิ่มบทนิยามคำว่า “บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” และคำว่า “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม”
3. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ แก่ผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณจากภาษีขายโดยไม่ให้หักภาษีซื้อ และกำหนดให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แทนผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์
4.แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้จ่ายเงินในการนำส่งเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และหน้าที่ของผู้ประกอบการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน
5. กำหนดให้การดำเนินการทางทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำโดยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
6. กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ออกใบกำกับภาษี
บริการที่ต้องเสียภาษี ได้แก่
บริการทางอิเล็กทรอนิกส์
คือ บริการซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบผ่านทางอินเทอเน็ต หรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นโดยบริการดังกล่าวสามารถทำได้ หากปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น หนัง เพลง เกม
อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม
ตลาด ช่องทาง หรือกระบวนการอื่นที่ผู้ให้บริการหลายรายใช้ในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้รับบริการ” เช่น Google Facebook Youtube Line Joox Netflix และอื่น ๆ
รวมถึงผู้ให้บริการดาวน์โหลดเกมออนไลน์, แอพพลิเคชั่น สติ๊กเกอร์ และสื่อโฆษณา เป็นต้น