แก้ไขมาตรา 7
กรณีที่ไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยกฎหมาย
เดิม
ในอัตรา 7.5% ต่อปี
ใหม่
ในอัตรา 3% ต่อปี
อัตราดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนทุก 3 ปี ให้ใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์
แก้ไขมาตรา 224
แก้ไขอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด โดยให้ใช้อัตราตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มอีก 2% ต่อปี
เดิม
ในอัตรา 7.5% ต่อปี
ใหม่
ในอัตรา 5% ต่อปี
ทั้งนี้ หลักการอื่น ๆ ของมาตรา 224 ยังคงไว้เช่นเดิม คือ ถ้าเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น รวมถึงการห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด และการพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่น นอกจากนั้นก็ยังสามารถทำได้
เพิ่มมาตรา 224/1
มาตรา 5
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 224/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรณีที่ลูกหนี้ต้องผ่อนชำระหนี้เงินเป็นงวด ๆ
หากลูกหนี้ผิดนัดในงวดใด เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้ (เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น) และหากมีการตกลงกันให้ขัดกับข้อความดังกล่าวนี้ ข้อตกลงนั้นเป็น “โมฆะ”
ทั้งนี้ ไม่กระทบกับอัตราดอกเบี้ยตามมาตรา 7 และ 224 ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 11 เมษายน 2564