06 กรกฎาคม 2565
เมื่อภาษีเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสำหรับเจ้าของบ้านและที่ดินนั้นจึงมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีและอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ เพื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด โดยวันนี้ธรรมนิติได้สรุปอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565 สำหรับแต่ละประเภทมาให้คุณได้ศึกษารายละเอียดและนำไปใช้กันค่ะ
ฐานภาษี ผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษี
ฐานภาษี
• มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ราคาประเมินทุนทรัพย์)
ผู้เสียภาษี
• เจ้าของที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
• ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
• เจ้าของห้องชุด
ผู้จัดเก็บภาษี
• กรุงเทพมหานคร
• เทศบาล
• อบต.
• เมืองพัทยา
การจัดเก็บภาษี พิจารณาการทำประโยชน์อย่างไร
1. เกษตรกรรม
ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการตามที่ประกาศกำหนด
• ดูตามสภาพข้อเท็จจริง
• หากทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์
• รวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม
2. ที่อยู่อาศัย
ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัย แบ่งเป็น
• บ้านหลังหลัก
• เจ้าของบ้านและที่ดิน
• เจ้าของเฉพาะตัวบ้านมีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ + ทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน หรือเจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน) บ้านหลังอื่น ๆ
• เจ้าของบ้านมีชื่อใน โฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
3. อื่น ๆ
• พาณิชยกรรม
• อาคารสำนักงาน
• อุตสาหกรรม
• ร้านอาหาร
• โรงแรม
• อื่น ๆ
4. ที่ว่างเปล่า/ไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ
• ทิ้งที่ดินไว้ว่างเปล่า
• ไม่ได้ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. เกษตรกรรม
*บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี
2. ที่อยู่อาศัย
2.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)
*บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นทรัพย์สินมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี
2.2 สิ่งปลูกสร้าง (เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)
*บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นทรัพย์สินมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี
2.3 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย นอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม 2.1 และ 2.2 (บ้านหลังอื่นๆ)
3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก 1 และ 2
4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์
Timeline การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างไร
`Update ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา`
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ขยายกำหนดเวลาดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
ประจำปี พ.ศ. 2565 วันที่ 26 มิ.ย. 65
ขยายเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ทั้งกทม. และทั่วประเทศ)
ภายใน ก.ค 65 (เดิม ภายใน เม.ย 65)
และขยายเวลาการผ่อนชำระภาษี
งวดที่ 1 ภายใน ก.ค 65 (เดิม ภายใน เม.ย 65)
งวดที่ 2 ภายใน ส.ค 65 (เดิม ภายใน พ.ค 65)
งวดที่ 3 ภายใน ก.ย 65 (เดิม ภายใน มิ.ย 65)
หากชำระภาษีเกินเวลาที่กำหนดมีโทษอย่างไร?
1. เบี้ยปรับ
ค่าปรับจากการที่ชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด มี 3 กรณี
• ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด และได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (มาตรา 68 ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562)
• ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีตามเวลาที่แจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (มาตรา 69 ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562)
• ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (มาตรา 68 ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562)
2. เงินเพิ่ม
• ดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระภาษีล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด (มาตรา 68 ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562)
• คิดอัตรา 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) โดยไม่นำเบี้ยปรับมารวมคำนวณเพื่อเสียเงินเพิ่มด้วย
• เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีจนถึงวันที่ชำระภาษี
• เพดานสูงสุดไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่จะชำระ (แต่ถ้าได้รับการขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และชำระภาษีภายในกำหนดเวลานั้น อัตราเงินเพิ่มจะลดลงเหลือ 5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน)
3. โทษทางอาญา
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือการนำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ มาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 88 ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562)
ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องชำระ ค่าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม
หากเป็นกรณีที่ชำระภาษีล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากไม่ได้รับใบประเมินเรียกเก็บภาษี หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ขยาย หรือเลื่อนกำหนดเวลาในการชำระภาษีด้วยตนเอง ผู้เสียภาษีไม่มีความผิด จึงไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม