ปรับหลักเกณฑ์อย่างไร ?
1. ผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ
• ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็น
(เดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย)
ตัวอย่าง
• ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือน เดือนละ 5,250 บาท ก่อนถึงแก่ความตาย
• ดังนั้น เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทจะได้รับบำเหน็จชราภาพในอัตราใหม่คือ
5,250 x (60-20) = 210,000 บาท
(เดิมจะได้รับ 5,250 x 10 = 52,500 บาท)
2. บุคคลซึ่งถูกงดการจ่ายเงินบำนาญชราภาพ เนื่องจากกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนและความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงด้วยเหตุเสียชีวิต
• หากบุคคลนั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่เกิน 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็น
(เดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนครั้งสุดท้าย ก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน )
ตัวอย่าง
• ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือน เดือนละ 5,250 บาท ต่อมากลับเข้ามาทำงาน เงินบำนาญชราภาพดังกล่าวจะถูกงดจ่าย
• ดังนั้น เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทของจะได้รับบำเหน็จชราภาพในอัตราใหม่คือ
5,250 x (60-20) = 210,000 บาท
(เดิมจะได้รับ 5,250 x 10 = 52,500 บาท)
3. กำหนดให้ผู้รับบำนาญชราภาพอยู่ก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ และรับบำนาญชราภาพมาแล้วยังไม่ครบ 60 เดือน
• ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจนครบ 60 เดือน
• กรณีรับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว และจำนวนเดือนเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย