21 เมษายน 2565
การจ้างแรงงาน จ้างทำของ นั้นมีความต่างกัน
ดังนั้นจะมาเป็นการจ้างเหมือนกั
มาทำความเข้าใจความต่างของ 2 ลักษณะนี้กันครับ
เรื่อง |
จ้างแรงงาน |
จ้างทำของ |
ชื่อเรียกตามกฎหมาย | นายจ้าง – ลูกจ้าง | ผู้ว่าจ้าง – ผู้รับจ้าง |
กฎหมายที่ใช้บังคับ | ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ / กฎหมายแรงงาน |
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
ลักษณะการทำงาน | ทำงานตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 วัน / 1 เดือน | ทำงานเพื่อให้งานเสร็จเป็นชิ้นๆ |
การกำหนดค่าจ้าง/สินจ้าง | กำหนดตามระยะเวลา | กำหนดตามชิ้นงาน |
การจ่ายค่าจ้าง/สินจ้าง | นายจ้างต้องจ่ายให้ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้าง ทำงานให้ |
ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงาน ตามที่ตกลงกัน |
อำนาจบังคับบัญชา | นายจ้างมีอำนาจควบคุม | ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุม |
สถานะของลูกจ้าง/ผู้รับจ้าง | ลูกจ้างต้องเป็น บุคคลธรรมดา |
ผู้รับจ้างเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล |
ความสิ้นสุดของสัญญา | จนกว่าจะมีการ บอกเลิกจ้าง |
จนกว่างานที่ตกลงกัน จะสำเร็จ |
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ในงานที่จ้าง |
นายจ้างต้องรับผิด ร่วมกับลูกจ้าง |
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง |
ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ม.40(1) เงินได้ที่ได้จากการจ้างแรงงาน | ม.40(2) เงินได้ที่ได้ จากการรับทำงานให้ หรือการจ้างทำของ |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) | เงินที่ได้จากการ จ้างแรงงานได้รับยกเว้น VAT |
เงินที่ได้จากการ จ้างทำของต้องเสีย VAT ในส่วนที่เกิน 1,800,000 บาท/ปียกเว้น การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัท / กรรมการตามกฎหมาย |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | นายจ้างหัก | ผู้ว่าจ้างหัก |
อากรแสตมป์ | ไม่ต้องติดบนสัญญา | ต้องติดบนสัญญา |