9 ข้อผิดพลาดทางบัญชี (ที่พบบ่อย) ในงบการเงินที่จะยื่น IPO

9 ข้อผิดพลาดทางบัญชี (ที่พบบ่อย) ในงบการเงินที่จะยื่น IPO

การที่บริษัทจะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีการเตรียมความพร้อมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของกฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การเข้าใจบทบาทหน้าที่ของกรรมการ การจัดโครงสร้างธุรกิจ การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี

และหนึ่งในเรื่องที่สำคัญก็คือ การจัดทำงบการเงิน ที่ต้องจัดทำตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS) สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสารารณะ (PAEs)

จากประสบการณ์การนำบริษัทเข้า IP0 ผู้สอบบัญชี มักพบประเด็นปัญหาในทางการบัญชี ตั้งแต่ปัญหาเล็กจนถึงปัญหาใหญ่ และบางครั้งอาจทำให้บริษัทไม่สามารถเข้า IP0 ได้ ดังนั้นจะขอสรุปประเด็นปัญหาข้อผิดพลาดทางการบัญชีที่พบบ่อยในงบการเงินที่จะเสนอยื่น IP0 เพื่อเป็นข้อเตือนใจให้บริษัทต่างๆ ที่จะเข้าจดทะเบียนระมัดระวังให้มากขึ้น


1. การเปลี่ยนเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน

การปรับงบการเงินจากเดิมที่กิจการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ NPAES) มาเป็น มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสารารณะ (PAES) ซึ่งมีความแตกต่างที่สำคัญอยู่หลายประการที่มาตรฐานการรายงานทางเงินที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสารารณะ (NPAES) จะไม่ได้กำหนดให้ปฏิบัติทั้งในเรื่องหหลักการบัญชี การจัดทำงบการเงิน รูปแบบงบการเงินการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

ดังนั้นจึงจำเป็นที่บุคลากรทางด้านบัญชีของบริษัทต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการปรึกษาหารือกับผู้สอบบัญชีของบริษัท เพื่อจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องเป็นไปตามเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสารารณะ (PAES)


2. การรับรู้รายได้

การรับรู้รายได้ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กำหนด ตัวอย่างเช่น การประเมินขั้นความสำเร็จของงานบริการหรืองานก่อสร้าง การรับรู้รายได้ผิดรอบบัญชี การขายพร้อมติดตั้ง การปันส่วนรายได้ การรับรู้รายได้ด้วยยอดรวมหรือยอดสุทธิ (gross หรือ net)


3. ทุน

การเพิ่มทุน การขายหุ้นใหม่หรือหุ้นเดิมให้แก่กรรมการพนักงานหรือบุคคลอื่น ที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่องการจ่ายโดยหุ้นเป็นเกณฑ์


4. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

อายุการใช้งานของสินทรัพย์ ใช้ตามเกณฑ์สรรพากรโดยไม่ได้พิจารณาอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ ไม่ได้วัดมูลค่าคงเหลือ (มูลค่าซาก) ของสินทรัพย์ จากการจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดอายุการให้ประโยชน์ในกรณีสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าคงเหลือที่เป็นสาระสำคัญและไม่ประมาณค่ารื้อถอนกรณีสินทรัพย์อยู่บนที่ดินเช่าที่สัญญาเช่ากำหนดว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาต้องปรับพื้นที่ดังเดิม


5. การรวมกิจการ

การรวมกิจการ เข้าเกณฑ์การซื้อธุรกิจหรือซื้อสินทรัพย์ การรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน การพิจารณาอำนาจในการควบคุม ที่ยังมีการรับรู้รายการไม่ถูกต้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน


6. การด้อยค่าของสินทรัพย์

ไม่พิจารณาการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ในกรณีที่บริษัทมีสินทรัพย์ที่ไม่สามารถนำมาดำเนินงานเพื่อให้เกิดรายได้อีกต่อไป บริษัทต้องพิจารณาการด้อยค่าสินทรัพย์ดังกล่าว

 

7. ความเพียงพอของการบันทึกสำรองต่าง ๆ

ความเพียงพอของการบันทึกสำรองต่าง ๆ เช่น ค่าเผื่อลูกหนี้ที่เกิดจากการค้างนาน หรือไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้แล้ว หรือมีสินค้าที่ค้างนาน ล้าสมัย เคลื่อนไหวช้า ซึ่งฝ่ายบริหารของบริษัทควรมีการกำหนดนโยบายในการตั้งสำรองให้สอดคล้องเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ

 

8. ภาระหนี้สิน

การบันทึกภาระหนี้สินไม่ครบถ้วน เช่น บริษัทที่มีการขายสินค้ามีการประกันคุณภาพของสินค้าหลังการขาย 6 เดือน หรือ 1 ปี หนี้สินจากการรับคืนสินค้าในกรณีผู้ซื้อไม่พอใจในสินค้า

 

9. การเปิดเผยรายการที่เกี่ยวข้องกัน

การเปิดเผยรายการที่เกี่ยวข้องกันไม่ครบถ้วน เช่น การเปิดเผยบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันไม่ครบด้วน ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดการพิจารณาความสัมพันธ์แต่ละรายการให้คำนึงถึงเนื้อหาของความสัมพันธ์มากกว่ารูปแบบทางกฎหมาย ไม่เปิดเผยนโยบายการกำหนดราคาลักษณะความสัมพันธ์

 

จากประเด็นข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า งบการเงินเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นข้อมูลที่ผู้ลงทุนใช้ในการพิจารณาความสามารถของธุรกิจ

ดังนั้นในการจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฝ่ายบริหารของบริษัทต้องให้สำคัญและวางแผนเตรียมการให้พร้อม เพื่อให้การจดทะเบียนระดมทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?