จำนอง หลักประกันการชำระหนี้

11 กรกฎาคม 2567

จำนอง คืออะไร?

จำนอง คือ การที่นำทรัพย์ไปประกันการชำระหนี้ของตนเอง/ของคนอื่น

แบบสัญญาจำนอง ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ผู้จำนอง เป็นได้ทั้งลูกหนี้ / บุคคลภายนอก ต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เท่านั้น

ผู้รับจำนอง

• มีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองเท่านั้น

• มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ

ทรัพย์ที่จำนอง

อสังหาริมทรัพย์ / สังหาริมทรัพย์ (เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระว่างตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป / แพ / สัตว์พาหนะ / อื่นๆ ซึ่งกฎหมายให้จดทะเบียนจำนองได้)

Note : จะมีการจำนองได้ ต่อเมื่อมีหนี้ที่ต้องชำระต่อกันก่อน เนื่องจากการจำนองเป็นการให้หลักประกันกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

 

บังคับจำนอง ตอนไหน?

 การบังคับจำนอง จะเกิดเมื่อกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตาม
สัญญา โดยบังคับเอาทรัพย์ที่จำนองมาใช้ชำระหนี้แทน มี 2 วิธี คือ

• การขายทอดตลาด คือ การยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อยึดทรัพย์สินที่จำนองออกมาขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง

• ยึดมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนอง คือ การฟ้องต่อศาลเพื่อเอาทรัพย์สินที่จำนองให้หลุดมาเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนอง (ไม่มีการจำนองอื่น) หากเข้าเงื่อนไข ดังนี้

o ลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยนานเป็นเวลา 5 ปี และ

o แสดงให้เห็นว่าราคาทรัพย์สินที่นำไปจำนองน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ

 

ตัวอย่าง

M กู้เงินจาก N 1 แสนบาท โดย M นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ โดย M ไม่ต้องส่งมอบที่ดินให้แก่ N และยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ ดังนั้น หาก M ไม่ใช้หนี้ให้ครบ N มีสิทธิที่จะเอาที่ดินนั้นมาบังคับจำนองเพื่อใช้ชำระหนี้แทนได้

 

บังคับจำนอง อย่างไรให้ถูก?

1. หากจะบังคับจำนอง เมื่อลูกหนี้ผิดนัด / ไม่ชำระหนี้

2. มีหนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ไม่น้อยกว่า 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือ

3. ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด /ไม่ปฏิบัติตาม

4. ผู้จำนองจึงมีสิทธิฟ้องศาลเพื่อบังคับจำนองได้

 

Q & A 

Q : ฟ้องศาลบังคับจำนองแล้ว แต่ทรัพย์ติดจำนองเจ้าหนี้หลายราย ใครจะได้รับชำระหนี้ก่อน ?

A : ลำดับการได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนอง ให้ดูตามวันและเวลาการจดทะเบียน (มาตรา 730 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

 

Q ถ้าขายทอดตลาดมาใช้หนี้หมดแล้ว มีเงินเหลือ ต้องให้ใคร?

A ให้คืนเจ้าของทรัพย์ (ผู้จำนอง)

(มาตรา 732 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

 

Q ถ้าหนี้ประธานขาดอายุความแล้ว จะบังคับจำนองได้อยู่ไหม?

A สามารถฟ้องเพื่อบังคับจำนองได้

(มาตรา 745 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

 

Q การจำนองจะระงับไปตอนไหนบ้าง ?

A

1. เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ

2. มีการปลดจำนองให้เป็นหนังสือ

3. เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น

4. เมื่อถอนจำนอง

5. เมื่อขายทอดตลาด

6. เมื่อเอาทรัพย์จำนองหลุด

(มาตรา 744 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?