ความลับทางการค้า คืออะไร ?
ความลับทางการค้า คือ ข้อมูลการค้า ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือบุคคลทั่วไปยังเข้าถึงไม่ได้
เป็นข้อมูล ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้า ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อรักษาไว้เป็นความลับ
พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มาตรา 3
ความลับทางการค้า มีอะไรบ้าง ?
• ข้อมูลเกี่ยวกับการค้า
เช่น ข้อมูลสินค้าสูตร ส่วนผสม เทคนิคหรือกรรมวิธี การผลิตสินค้า รวมถึงขั้นตอน การทำงานของสินค้า
• ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์
เป็นความลับที่มีความสำคัญกับกิจการ และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ข้อมูลการขาย แผนการตลาด ราคาประมูลสินค้า รายชื่อลูกค้า
• แนวทางรักษา และ ดูแลความลับ ทางการค้า ?
• ควรจัดการความลับทางการค้า แล้วจัดเก็บในที่ปลอดภัย
• ควรมีการเข้ารหัส เพื่อเข้าถึงข้อมูล และระบบตรวจสอบสิทธิการเข้าถึง
• ถ้าเป็นเอกสาร ควรมีตราประทับ ว่า “ลับ” และจัดเก็บในที่ปลอดภัย
• แจ้งข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
• ทำสัญญารักษาความลับทางการค้ากับผู้เกี่ยวข้อง ไม่ให้เปิดเผยข้อมูล หากฝ่าฝืน ผิดกฎหมาย
การห้ามประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง มีหลักอะไรบ้าง ?
1. ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
จะกำหนดให้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นตกกรรมสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นมา
• นายจ้างอาจเขียนข้อสัญญา ให้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ลูกจ้างสร้างสรรค์ขึ้น ในหน้าที่การงานตกเป็นของนายจ้างได้
2. ระยะเวลาที่ห้ามประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง
ขึ้นอยู่กับกิจการที่ทำ
• ลักษณะงาน
• องค์ความรู้ ทักษะการทำงานของลูกจ้าง
• ยกเว้น กรณีที่ ลูกจ้าง รับรู้องค์ความรู้จากนายจ้างที่เป็นความลับทางการ**
** เมื่อลูกจ้างเปิดเผยความลับทางการค้าซึ่งผิดวินัยร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้เลย
โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
3. นายจ้างควรกำหนดพื้นที่ ในการกำหนดข้อสัญญา ห้ามประกอบธุรกิจ แข่งกับนายจ้าง ให้เหมาะสม
*ถ้านายจ้าง กำหนดจำนวนปีมากเกินไป หรือพื้นที่กว้างเกินไป ศาลแรงงานอาจพิจารณาว่าข้อสัญญานั้นไม่เป็นธรรม และพิพากษาให้เท่าที่จำเป็นและสมควร เพื่อความเป็นธรรมด้วยการลดเวลาของข้อสัญญาในการบังคับใช้ลง หรือ กำหนดเขตพื้นที่ให้น้อยลงได้
พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 41/1