เช็ก มาตรการของขวัญปีใหม่ ช้อปดีมีคืน 2566
เปิดเงื่อนไข ช้อปดีมีคืน วงเงิน 40,000 บาท
ระยะเวลาของโครงการ
โครงการ ช้อปดีมีคืน เฟส 4 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 66 รวมระยะเวลา 46 วัน
ลดหย่อนภาษีอย่างไร ?
ช้อปดีมีคืน เฟส 4 เป็นมาตรการรัฐที่เปิดให้บุคคลธรรมดา สามารถนำรายจ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง รวมสูงสุด 40,000 บาท โดยแบ่งเป็น
• การใช้ใบกำกับภาษีจากร้านค้าทั่วไป สูงสุด 30,000 บาท
• การใช้ใบกำกับภาษีจากร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ สูงสุด 10,000 บาท
ช็อปอะไรได้บ้าง ?
รายจ่ายค่าซื้อสินค้า และบริการ ที่นำมาใช้สิทธิตามมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ได้ คือ
• สินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
• สินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
• หนังสือ (รวมถึง e-book)
ใครได้สิทธิบ้าง ?
• บุคคลธรรมดาที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566 และต้องการนำค่าใช้จ่ายจากโครงการนี้ไปใช้ลดหย่อนภาษี 2566 ที่จะยื่นแบบในต้นปี 2567
สำหรับ บุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่ ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
ซื้อสินค้าหรือบริการ ภายใน 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 66
ช้อปดีมีคืน 2566 มีเงื่อนไขอะไรอีก ?
ช้อปดีมีคืน ซื้อทองได้ไหม ?
ทองคำแท่ง : ไม่สามารถใช้สิทธิได้ เพราะทองคำแท่งไม่ต้องเสียภาษี VAT อยู่แล้ว
ทองรูปพรรณ : ตัวทองคำก็ไม่เสียภาษีเช่นกัน แต่จะใช้ลดหย่อนภาษีได้เฉพาะค่ากำเหน็จเท่านั้น
สินค้าที่ไม่เสีย VAT ใช้สิทธิช้อปดีมีคืนไม่ได้ รวมถึง สุรา ไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่
**ต้องขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ที่มีชื่อ – นามสกุล และข้อมูลอื่นๆ ครบถ้วน**
ช้อปดีมีคืน 2566 ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง ?
• สุรา เบียร์ และไวน์
• บุหรี่ ยาสูบ
• รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ เรือ
• หนังสือพิมพ์และนิตยสาร และค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
• บริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
• ค่าที่พักในโรงแรม
• ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต
• ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย
• ค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เพราะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในหมวดประกันได้
• ค่าบริการระยะยาวที่เริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
• สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% อยู่แล้ว เช่น ผัก-ผลไม้สดที่ยังไม่ได้แปรรูป เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นมจืด ทองคำแท่ง ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม