10 กรกฎาคม 2567
ทรัพย์อิงสิทธิ
ทรัพย์อิงสิทธิ เป็นสิทธิที่ติดอยู่กับตัวอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วไม่ว่าจะเปลี่ยนตัวเจ้าของผู้ทรงสิทธิอย่างไร ทรัพย์อิงสิทธิก็ยังคงติดอยู่กับตัวอสังหาริมทรัพย์นั้น จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาหรือถูกบอกเลิกทรัพย์อิงสิทธินั้นๆ
ลักษณะสำคัญของทรัพย์อิงสิทธิ
• สามารถโอนสิทธิในทรัพย์อิงสิทธิให้กับบุคคลภายนอกได้
• ดัดแปลง ต่อเติม ก่อสร้างได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต
• ขอใบอนุญาตต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
• ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยการจำนอง / การกู้ยืมเงินได้
• สามารถตกทอดแก่ทายาททางมรดกก็ได้
อสังหาริมทรัพย์อะไรเป็นทรัพย์อิงสิทธิได้
• ที่ดินมีโฉนด
• ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินมีโฉนด
• ห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ข้อกำหนดทรัพย์อิงสิทธิ
• กำหนดเวลาได้ไม่เกิน 30 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนทรัพย์อิงสิทธิ
• ก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ เฉพาะส่วนไม่ได้
• หากอสังหาริมทรัพย์ ติดจำนอง / ใช้เป็นหลักประกันก่อนจดทะเบียน ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนอง / ผู้มีสิทธินั้นก่อน
• จะเอาทรัพย์อิงสิทธิมาแบ่งแยกออกจากกัน หรือนำไปรวมกับทรัพย์อิงสิทธิอื่นไม่ได้
• การทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิอย่างไร
สิทธิของผู้ทรงสิทธิ ในทรัพย์อิงสิทธิ
• ผู้ทรงสิทธิ เป็นได้ทั้งเจ้าของผู้ก่อตั้ง หรือ บุคคลอื่นที่รับโอนทรัพย์อิงสิทธิ
• ผู้ทรงสิทธิในทรัพย์อิงสิทธิมีสิทธิเสมือนหนึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
• ยกเว้นสิทธิติดตามเอาคืน และสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หากครบ 30 ปี แล้วต้องทำอย่างไร กับทรัพย์อิงสิทธิต่อ
1. ส่งคืนเจ้าของ ในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาสิ้นสุด ทั้งนี้ สามารถตกลงเป็นอย่างอื่นได้
2. กรณีที่ทรัพย์อิงสิทธิสิ้นสุดลงโดยระยะเวลา 30 ปีไปแล้ว และคู่สัญญาประสงค์ที่จะต่อเวลาทรัพย์อิงสิทธินั้นออกไป เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องนำอสังหาริมทรัพย์นั้นไปดำเนินการจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธินั้นใหม่อีกครั้ง