ทิศทางตลาด และการสร้างแรงงานสัมพันธ์ นายจ้าง-ลูกจ้าง ในองค์กร
“เราเป็นองค์กรที่เชื่อมนายจ้างกับลูกจ้าง ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น ให้บริษัทมีวิธีดูแลลูกจ้างในเรื่องสวัสดิการและเงินเดือนค่าตอบแทนที่เหมาะสม”
นายจ้างกับลูกจ้างต้องคุยกัน เพราะนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงิน ในขณะที่ถ้าลูกจ้างไม่พอใจ ก็ไม่อยากทำงาน จึงต้องให้คณะกรรมการไตรภาคี ช่วยไกล่เกลี่ย เพื่อให้สองฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
คนรุ่นใหม่นิยมเป็นเจ้านายตัวเอง เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ทำงานในบริษัท ส่วนใหญ่จึงทำธุรกิจออนไลน์ ถือเป็นแรงงานอิสระในระบบ
บางบริษัท Work From Home มากขึ้น ทำให้ตลาดแรงงานต้องปรับตัว เช่น ธุรกิจให้เช่าออฟฟิศต้องเปลี่ยนเป็น Co-Working Space รองรับการทำงานรูปแบบใหม่ ที่คนทำงานผ่านออนไลน์ได้
หลังวิกฤตโควิด-19 สภาองค์การนายจ้างฯ จัดอบรมความรู้ให้นายจ้าง ระหว่างรอเศรษฐกิจฟื้นตัว เร่งพัฒนาศักยภาพนายจ้างกับกลุ่มฝีมือแรงงานให้มีความพร้อมทุกด้าน
เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น 100% นายจ้างกับลูกจ้างมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี การกลับมาของทุกอย่างจะไม่ยาก ถ้ามีแรงงานฝีมือดี ตลาดแรงงานก็โตได้
มุ่งเน้นนายจ้างยุคใหม่ มีทัศนคติที่ดีในการบริหารองค์กร เข้าใจลูกจ้าง ปรับเปลี่ยนพัฒนาในด้านดิจิทัล ในหลายประเทศมีหลักสูตร AI เรียนกันแล้ว
ในขณะที่บ้านเรา กฎหมาย PDPA เพิ่งเริ่มใช้นายจ้างต้องพัฒนาตัวเอง จะเหมือน 4 ปีก่อนไม่ได้ ยุคก่อนกับยุคนี้ นายจ้างต้องเปลี่ยนตามโลก ใครปรับตัวไม่ทัน เป็นผู้แพ้