ปลอมเอกสาร – เอกสารเท็จต่างกันอย่างไร ?
เอกสารปลอม คืออะไร ?
เอกสารปลอม คือ เอกสารที่ทำขึ้นโดยผู้ทำเอกสารไม่มีอำนาจทำ แต่แอบอ้างว่าตนเองมีอำนาจ เป็นการหลอกลวงให้ผู้อื่น หลงเข้าใจผิดใน “ตัวบุคคลผู้ทำเอกสาร”โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. หลอกให้ผู้ที่เห็นเอกสารหลงเชื่อว่า ผู้ที่มีอำนาจทำเอกสารเป็นผู้ทำ โดยที่ผู้นั้น ไม่ได้จัดทำเอกสารขึ้นจริง และไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้อื่นทำ
2. หลอกลวงว่าผู้จัดทำเอกสารมีอำนาจทำเอกสาร โดยที่ผู้ทำนั้น ไม่มีอำนาจ
ถ้าเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งข้างต้น ถึงแม้เนื้อหานั้นจะถูกต้องกับความจริง ก็ถือเป็นเอกสารปลอม
เอกสารเท็จ คืออะไร ?
เอกสารเท็จ คือ เอกสารที่ทำขึ้นโดยปรากฏข้อมูลว่าบุคคลใดเป็นผู้ทำ และ บุคคลนั้นมีอำนาจจัดทำเอกสาร โดยได้จัดทำเอกสารจริง แต่เนื้อหาในเอกสาร ไม่ตรงกับความจริง เป็นการลวงให้ผู้อื่น เข้าใจผิดในเนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารนั้น ไม่ได้ลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในตัวผู้ทำเอกสาร
ถ้าผู้จัดทำเอกสารมีอำนาจในการจัดทำเอกสารดังกล่าวแม้เนื้อหาในเอกสารเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
ปลอมเอกสาร – เอกสารเท็จต่างกันอย่างไร ?
เอกสารปลอม |
เอกสารเท็จ |
|
ข้อความในเอกสาร | เนื้อหาเป็นจริง หรือเป็นเท็จก็ได้ | เนื้อหาต้องเป็นเท็จเท่านั้น |
ผู้จัดทำ | ผู้จัดทำไม่มีอำนาจทำ หรือ ไม่ได้เป็นผู้จัดทำ | ผู้จัดทำมีอำนาจทำได้ และ เป็นผู้จัดทำเอง |
ข้อเท็จจริง | หลอกว่าบุคคลอื่น เป็นคนทำเอกสาร หรือ หลอกว่ามีอำนาจทำเอกสาร | หลอกว่าเนื้อหาเป็นความจริง |
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง | ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 267 | ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267, 269, 162 |