การรอนสิทธิ ตรวจสอบให้ดีก่อนทำนิติกรรม รู้ไว้ก่อนตัดสินใจจะได้ไม่เสียสิทธิในที่ดิน

การรอนสิทธิ

ตรวจสอบให้ดีก่อนทำนิติกรรม รู้ไว้ก่อนตัดสินใจจะได้ไม่เสียสิทธิในที่ดิน

ลักษณะการรอนสิทธิมี 8 รูปแบบ

การรอนสิทธิบางประเภท ไม่ได้ระบุระยะเวลาไว้ เช่น การรอนสิทธิของที่ดิน ใต้แนวเสาไฟฟ้าแรงสูง จะมีผลต่อที่ดินนั้นตลอดไป เจ้าของที่ดินจึงควรรู้ และต้องต่อรองราคาให้เป็นธรรม เพื่อรักษาสิทธิที่หายไป

สำหรับผู้ที่จะซื้อ หรือจะเช่าที่ดิน จะต้องตรวจสอบกับกรมที่ดินให้แน่ใจ ว่าที่ดินที่ท่านให้ความสนใจนั้น ไม่ถูกรอนสิทธิ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างสูงสุก คุ้มราคาที่ดิน

1. ที่ดินใต้แนวเสาไฟฟ้าแรงสูง

จะถูกรอนสิทธิโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คือ เจ้าของยังมีกรรมสิทธิ์ที่ดินเหมือนเดิมแต่ลดสิทธิการใช้ประโยชน์ลง แลกกับค่ารอนสิทธิที่เป็นธรรม

1.ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 4.00 เมตร หรือ ห้ามเผ่าไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวสายไฟฟ้า

2.ห้ามปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างอื่น ทุกชนิด ในเขตเดินสายไฟฟ้า

3. ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ในเขตเดินสายไฟฟ้า ดังนี้
– บริเวณพื้นที่ที่ตั้งเสา และพื้นที่โดยรอบโคนเสา ภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ทุกชนิด
– บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้านอกจากข้อ 3.1 ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผล ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีความสูงเกินกว่า 3 เมตร
– บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า ของสายส่งไฟฟ้า ระดับแรงดัน 500,000 โวลต์ ห้ามปลูกอ้อย

4. กระทำการใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดิน บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่อ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรการ กฟผ.ก่อน โรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้น หรือทำขึ้น ต้นไม้หรือพืชผล ที่ปลูกขึ้น โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้ กฟผ.มีอำนาจรื้อถอน ทำลาย หรือตัดฟันตามสมควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้กำหนดเขตการรอนสิทธิเป็นความกว้างของเขตสายไฟฟ้า ตามขนาดของสายส่งไฟฟ้า ไว้ดังนี้

2. ข้อกำหนดห้ามโอน

อาจเกิดจากการออก น.ส.3 ที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ หรือมี ส.ค. 1 อยู่ก่อน ทางการอาจกำหนดห้ามโอน 10 ปี หรือที่เรียกว่า “โฉนดหลังเเดง” ในกรณีนี้หากระยะเวลาที่ห้ามเหลืออีกนาน เช่น เหลืออีก 8 ปี ก็จะเกิดปัญหาว่าไม่สามารถขายต่อได้จนกว่าจะครบกำหนด

3. สัญญาเช่า

สัญญาเช่ามีระยะเวลาเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป ต้องจดทะเบียนที่กรมที่ดิน
กรณีเช่าเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง จะต้องจดทะเบียนที่อำเภอ เพราะการเช่าในสองลักษณะนี้ จะไปปรากฏธุรกรรมในหน้าสารบัญโฉนด

4. สิทธิเก็บกิน

สิทธิซึ่งผู้ทรงสิทธิ มีสิทธิครอบครองใช้ หรือถือเอาซึ่งประโยชน์เเห่งทรัพย์สินนั้นภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายไว้ไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิก็ได้ ทั้งนี้เมื่อจดทะเบียนมอบสิทธิแบบนี้ให้กับใครแล้ว เวลาทำสัญญาเช่าผู้เช่าต้องทำกับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน เเทนที่จะทำกับเจ้าของซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

5. สิทธิอาศัย

เป็นสิทธิที่ผู้อาศัยมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าอาจมีระยะเวลาไม่เกินกว่า 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ

6. สิทธิเหนือพื้นดิน

สิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดิน อาจมีกำหนดเวลาไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้ และเมื่อครบกำหนดผู้ทรงสิทธิมีสิทธิรืื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไปด้วย

7. ภาระติดพัน

ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ จากทรัพย์สินนั้น หรือได้ใช้ หรือถือเอาประโยชน์เเห่งทรัพย์สินตามระบุไว้ ถ้าไม่ระบุระยะเวลาไว้สันนิษฐานไว้ว่ามีอยู่ตลอดชีวิตของผู้ได้รับประโยชน์ หรือถ้ากำหนดเวลาไม่เกิน 30

8. ภาระจำยอม

ที่ดินอาจตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่าง อันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นภาระจำยอมที่พบบ่อย คือ ภาระจำยอมเรื่องให้ผ่านทาง โดยยอมให้โฉนดแปลงอื่นใช้ประโยชน์เป็นทางผ่านได้

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?