ข้อควรระวังหักค่าจ้าง กฎหมายที่นายจ้างต้องรู้
1. ชำระภาษี
กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ ที่ลูกจ้างมีต่อนายจ้าง แต่หากเป็นการชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่าย การหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือเงินสมทบกองทุนประกันสังคม นายจ้างสามารถหักเงินได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
2. ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน
ตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน (ในกรณีที่สถานประกอบการมีสหภาพแรงงาน) นายจ้างสามารถหักเงินบำรุงสมาชิกจากค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากลูกจ้าง
3. เงินชดใช้ค่าเสียหาย
นายจ้างจะหัก “เงินชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง” ซึ่งเป็นหลักประกันการทำงานของลูกจ้าง ตามลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบเงินหรือทรัพย์สิน (เช่น งานสมุห์บัญชี งานเร่งรัดหนี้สิน งานควบคุมยานพาหนะ) ได้ในกรณีที่ลูกจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดผลเสียหายแก่นายจ้าง
4. เงินสะสมตามข้อตกลง
หากนายจ้างได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และลูกจ้างสมัครเป็นสมาชิกกองทุน นายจ้างสามารถหักเงินค่าจ้างสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวได้