One day trip ธรรมนิติ อาสาพาทัวร์ ถนนเยาวราช – ย่านตลาดน้อย

Dharmniti Family เยาวราช

Dharmniti Family อาสา พาผู้โชคดี ทั้ง 16 ท่าน จากกลุ่มบริษัทธรรมนิติ มาเปิดประสบการณ์ ลัดเลาะตามตรอกมังกร เรียนรู้แหล่งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมชุมชนตามสถานที่รายทางของถนนเยาวราช – ย่านตลาดน้อย พร้อมสักการะศาลดัง และลิ้มรสต้นตำรับอาหารจีน นำเที่ยวโดย อาเจ็กสมชัย กวางทองพานิชย์ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเยาวราช เมื่อ วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567

inside Dharmniti Family เยาวราช09

เริ่มต้นกับจุดเช็คอินที่ไม่ควรพลาด บ้านโซวเฮงไถ่ ตำนานบ้านจีนยุคแรก ที่ยังมีลมหายใจ ในกรุงเทพฯ บ้านเก่าสถาปัตยกรรมแบบจีน แต่มีใต้ถุนสูงแบบไทย สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีอายุกว่า 200 ปี บนเนื้อที่ประมาณกว่า 300 ตารางวาในย่านตลาดน้อย เป็นบ้านของคหบดีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนที่ข้ามน้ำข้ามทะเล มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองไทย โดยต้นตระกูลเป็นนายภาษีอากรรังนก คอยเก็บภาษีให้ทางราชการ และยังมีอาชีพค้าขายทางเรือสำเภา ปัจจุบันเป็นโรงเรียนสอนดำน้ำ และเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม

inside Dharmniti Family เยาวราช12
ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่) ศาลเจ้าเก่าแก่กว่า 200 ปี ของชาวจีนฮกเกี้ยน เป็นศูนย์กกลางของตลาดน้อย และจุดเริ่มต้นของเทศกาลกินเจ อันโด่งดังในย่านเยาวราช

พิพิธตลาดน้อย พิพิธภัณฑ์ชุมชน อดีต “โรงกลึงเก่า” ที่แปลงมาเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้อย

inside Dharmniti Family เยาวราช10

inside Dharmniti Family เยาวราช13

ต่อด้วยมื้อเที่ยง ที่ ภัตตาคาร กว้านสิ่วกี่ ภัตตาคารอาหารกวางตุ้ง “ตลาดน้อย” แสนอร่อย ที่เปิดมาเกินครึ่งร้อยปี กับเมนูหลากหลาย เช่น ติ่มซำ บะหมี่เกี๋ยวหมูแดง หมูกรอบ เป็ดย่าง ฯลฯ ในบรรยากาศสไตล์ฮ่องกง เต็มไปด้วยกลิ่นอายความคลาสสิกย้อนยุค ปี 60

เดินย่อยกันต่อที่ วัดปทุมคงคา หรือ วัดสำเพ็ง ชมแท่นหินสำเร็จโทษ หรือ แท่นหินที่ใช้รองทุบหัวด้วยท่อนจันทน์ประหารเจ้านายผู้กระทำผิด มีมาก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ศาลกรมหลวงรักษรณเรศร

inside Dharmniti Family เยาวราช08

ตามด้วย ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลลับ ที่ชาวไหหลำให้ความเคารพ ย่านทรงวาด ลับชนิดที่ผู้ร่วมทริป ต่างเซอร์ไพรส์ เพราะไม่คิดว่าในตรอกเล็กๆ แบบนี้จะมีศาลเจ้าเก่าแก่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางแหล่งชุมชน ซึ่งอาเจ็กสมชัย ได้พาชาวธรรมนิติเข้าชมแบบเอ็กซ์คลูซีฟ พร้อมแนะนำเคล็ดลับการเสี่ยงเซียมซี ตามตำรับของอาเจ็ก

ระหว่างการเดินทางในย่านทรงวาด เราก็จะเห็นป้ายของร้านค้าต่างๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นอีกหนึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์ ที่ยังคงอยู่ ท่ามกลางยุคสมัยปัจจุบัน

inside Dharmniti Family เยาวราช07

ศาลเจ้าแม่ประดู่ (เล่าปึงเถ่าม่า) ตั้งอยู่บริเวณตลาดเก่าเยาวราช (ซอยเยาวพานิช) ถนนเยาวราช ศาลเล็ก ๆ ในซอยเล็ก ๆ มีอายุราว 170 ปี โดดเด่นในเรื่องของการขอบุตรขอความรัก ขอคู่ครอง ตำแหน่งหน้าที่การงานและโชคลาภ และตำนานอีกมุมหนึ่ง หมายถึง แม่ย่านาง เทวีแห่งทะเล ตามความเชื่อของชาวจีน

inside Dharmniti Family เยาวราช06

inside Dharmniti Family เยาวราช02

เติมพลังยามบ่าย กับเครื่องดื่มคลายร้อน ที่ร้านเอ็กเต็งผู้กี่ ร้านกาแฟเก่าแก่ที่เคียงคู่ย่านเยาวราชกว่า 100 ปี

หลังจากหายเหนื่อยแล้ว ก็มาต่อกันที่ ศาลเจ้าหลีตี้เมี๊ยว สร้างโดยชาวจีนแคะ ซึ่งขึ้นชื่อว่า เซียมซีแม่นที่สุด และมีใบเซียมซีมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะเซียมซียา จะมีทั้ง ยาบุรุษ เซียมซียาสตรี เซียมซีเด็ก เซียมซีหูตาคอจมูก พร้อมฟังเรื่องเล่า ที่มาที่ไปของภาพแกะสลักหน้าโต๊ะวางของบูชาในศาลเจ้า และตำนานศาลเจ้าที่เปรียบเสมือนโรงพยาบาลชุมชนซึ่งยังคงเปิดอยู่

inside Dharmniti Family เยาวราช05

วัดคณิกาผล กับเรื่องเล่าตำนาน ย่าแฟงโสเภณีผู้สร้างวัด พร้อมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย “หลวงพ่อทองคำ” เป็นองค์ประธาน

วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ สถานที่แก้ปีชงสุดฮิต ในบรรยากาศที่แปลกตา ประดับประดาด้วยโคมไฟสีเหลือง เตรียมต้อนรับเทศกาลกินเจ กับตำนานไฉ่ซิงเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

inside Dharmniti Family เยาวราช04

ปิดท้ายกันที่ ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ศาลเจ้าของกลุ่มชาวจีนแต้จิ๋ว อีกหนึ่งศาลเจ้าที่งดงาม ตามสไลต์ศิลปะแบบจีนดั้งเดิม ที่หลายคนนิยมมาไหว้เสริมความเฮง

พร้อมทานอาหารมื้อเย็นก่อนกลับ แบบจัดเต็ม ที่ร้านจินเป่าโภชนา ร้านอาหารเสฉวน เจ้าแรกเจ้าเดียวในเยาวราช กับเมนูสุดฮิตอย่าง ปลาต้มผักกาดดอง เสี่ยวหลงเปา หม่าโผโต้วฝู่

ทำเอาผู้โชคดีในทริปนี้ ประทับใจตั้งแต่เริ่มจนจบ อิ่มครบทั้งอาหารตา อาหารท้อง กันอย่างจุใจแบบฟรีๆ สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ อย่าลืมติดตาม กันนะครับ

inside Dharmniti Family เยาวราช03

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?