เตรียมพร้อมรับมือกับภาษีปี 2567 รู้หรือไม่ว่าค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีหลายกลุ่มที่ช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้มากขึ้น โดยเฉพาะถ้าวางแผนการเงินดีๆ วันนี้เราจะพาคุณมาสรุป 5 กลุ่มค่าลดหย่อนภาษี ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เพื่อให้คุณได้เตรียมตัวก่อนยื่นภาษีอย่างมั่นใจ
5 กลุ่ม ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567
อัพเดตข้อมูล ณ วันที่ 9 ต.ค. 67
1. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคลและครอบครัว
สถานะการสมรส
1) โสด (หย่า/ม่าย) ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
2) คู่สมรสมีเงินได้ แยกยื่นแบบ ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
3) คู่สมรสมีเงินได้ ยื่นรวม ลดหย่อนได้ 120,000 บาท
4) คู่สมรสไม่มีเงินได้ ลดหย่อนได้ 120,000 บาท
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดาของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้
• บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่มีเงินได้ ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
บุตร / บุตรบุญธรรม
1) บุตรที่เกิดก่อนปี 2561 ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
2) บุตรตั้งแต่คนที่ 2 ที่เกิดใน / หลังปี 2561 ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
3) บุตรบุญธรรม ลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท (สูงสุดไม่เกิน 3 คน)
ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
• ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท
อุปการะเลี้ยงดูผู้พิการ / ทุพพลภาพ
• ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
2. ประกัน
ประกันสังคม ปี 2567
1) ผู้ประกันตนตาม ม. 33 ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท
2) ผู้ประกันตนตาม ม. 39 ลดหย่อนได้สูงสุด 5,148 บาท
3) ผู้ประกันตนตาม ม. 40 ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 840 – 3,600 บาท ตามที่จ่ายจริง
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง
• ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
*เบี้ยประกันชีวิตตนเองและเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตตนเอง
• ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
*เบี้ยประกันชีวิตตนเองและเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
• ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
3. การออมและการลงทุน
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
• ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 30 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
• ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 30 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
• ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15 % ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
• ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
เงินสะสมกองทุน (กบข.)
• ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 30 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน
• ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน
• ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise
• ไม่เกิน 100,000 บาท
กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
• ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
4. สิทธิประโยชน์อื่นๆ
ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567 – 2568
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง 2567
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
Easy e-Receipt 2567
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
โครงการช้อปดีมีคืน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. -15 ก.พ. 66)
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
ค่าสนับสนุนพรรคการเมือง
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
5. เงินบริจาค
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา, โรงพยาบาล, สังคม
• ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
เงินบริจาคทั่วไป
• ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
เมื่อรู้แล้วว่ามีค่าลดหย่อนกลุ่มไหนบ้างที่เหมาะกับคุณ อย่าลืมวางแผนใช้สิทธิ์ลดหย่อนเหล่านี้ให้คุ้มค่า การเตรียมพร้อมเรื่องภาษีไม่ได้เป็นแค่เรื่องเงิน แต่ยังช่วยให้คุณจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปี 2567 นี้ มาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีให้คุ้มที่สุดไปด้วยกัน
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษี
จัดสัมมนา – เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ลดหย่อนภาษีได้
เลี้ยงดูู บิดา-มารดา มีหลักเกณฑ์ลดหย่อนภาษีแบบไหน ? ถ้าบุตรหลายคน ใครจะมีสิทธิใช้ลดหย่อน ?
บริจาคแบบไหน ได้ลดหย่อนภาษี
ค่าลดหย่อนภาษี ปี 2565 หลักเกณฑ์การหักลดหย่อน ภาษีบุตร มีอะไรบ้าง