การเลิกจ้างไม่ใช่แค่การสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแรงงานที่ทุกฝ่ายควรทราบ สำหรับลูกจ้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้อย่างถูกต้อง บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจทั้งเงื่อนไขการเลิกจ้าง สิทธิในการได้รับค่าชดเชย และวิธีการคำนวณในกรณีต่างๆ อย่างครบถ้วน
การเลิกจ้างคืออะไร ?
การเลิกจ้างคือการยุติสัญญาจ้างงานตามกฎหมาย ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง ส่งผลให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง ในกรณีที่นายจ้างยุติการจ้างงาน เช่น ลูกจ้างทำผิดกฎระเบียบหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งล่วงหน้าหรือให้สิทธิ์ในการชดเชย และหากเป็นกรณีที่ลูกจ้างลาออกเอง ลูกจ้างต้องแจ้งให้นายจ้างทราบตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาหรือกฎหมาย
การเลิกจ้างกับการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนสัญญาจ้างสิ้นสุด
กรณีที่มีกำหนดเวลาจ้าง
เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้าง ถือว่าสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลง โดยนายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกสัญญา ทั้งนี้ ต้องเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน และทั้งนายจ้างและลูกจ้างไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดที่ระบุไว้ได้ เช่น การตกลงจ้างงานเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568 อย่างไรก็ตาม หากสัญญาที่กำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนอนุญาตให้นายจ้างหรือลูกจ้างบอกเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนด จะไม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา
กรณีสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอน
หากเป็นสัญญาจ้างที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างในสัญญา หรือสัญญาปลายเปิด เช่น ให้ลูกจ้างทำงานโดยไม่ระบุวันสิ้นสุดการทำงาน หรือจ้างทำงานจนกว่าจะเกษียณอายุ สัญญาดังกล่าวจะถือเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา ในกรณีนี้ นายจ้างต้องบอกกล่าวแก่ลูกจ้างเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้าง เพื่อให้การเลิกสัญญามีผลเมื่อถึงงวดการจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป โดยนายจ้างสามารถใช้วิธีการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ทั้งในรูปแบบวาจาหรือทำเป็นหนังสือ
การจ่ายค่าชดเชย กรณีเลิกจ้าง
เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้ทำผิดสัญญาใดๆ ของบริษัท ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ด้งนี้
ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ ค่าตกใจ กรณีถูกเลิกจ้างกะทันหัน
“ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า” คิดอย่างไร?
ตัวอย่างการคิดค่าตกใจ เมื่อถูกเลิกจ้าง
ตัวอย่าง 1 : นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
วิธีคิดค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อถูกเลิกจ้าง
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 3
ตัวอย่างที่ 4
ค่าตกใจสำหรับพนักงานรายวัน
ข้อยกเว้น ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ ถูกเลิกจ้าง
จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไร เมื่อถูกเลิกจ้างหรือนายจ้างเลิกกิจการ?
6 สิทธิ์เข้าข่ายได้รับ “ค่าชดเชย” เมื่อถูกเลิกจ้าง
เตรียมด่วน! คู่มือเตรียมพร้อมรับสิทธิประโยชน์ เมื่อถูกเลิกจ้าง
รู้ก่อนสาย! ถูกเลิกจ้างแบบไหน หมดสิทธิได้ค่าชดเชยและเงินทดแทน