การจัดตั้งบริษัทมหาชน เป็นก้าวสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตและเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมลงทุน แต่ก่อนจะดำเนินการจดทะเบียน มีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ผู้เริ่มก่อตั้งต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ตั้งแต่การจองชื่อบริษัทไปจนถึงการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไข การจัดตั้งบริษัทมหาชน
1. ต้องมีบุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป โดยเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
2. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เริ่มจัดตั้งทั้งหมด
3. จองหุ้น และหุ้นที่จองทั้งหมดนั้น ต้องเป็นหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเป็นตัวเงินรวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของทุนจดทะเบียน
4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือ ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
5. ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
การใช้ชื่อบริษัทมหาชน
จองชื่อด้วยตัวเองได้ที่ เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (http://www.dbd.go.th) โดยการใช้ชื่อ มีข้อกำหนด ดังตัวอย่าง
1. ต้องไม่เหมือน หรือ คล้าย หรือ มีเสียงเรียกขานตรงกันกัน หรือ คล้ายคลึงกันกับชื่อที่ได้จอง หรือ ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว (มาตรา 13)
2. ต้องไม่ขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) มาตรา 11, 14 (4) และ มาตรา 18 แห่ง พรบ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
3. ต้องไม่ใช้ชื่อ คำ หรือ ข้อความ ที่ขัดต่อนโยบายแห่งรัฐ หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ ก่อให้เกิดความสำคัญผิด หลอกลวงประชาชน
4. กรณีใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาต่างประเทศ บริษัทต้องเขียนชื่อภาษาอังกฤษให้มีการออกเสียงตรง หรือมึความหมายตรงกับชื่อภาษาไทย โดยมีคำว่า “Public Company Limited” ต่อท้ายชื่อ
5. กรณีบริษัทประกอบกิจการธนาคาร บริษัท จะไม่ใช้คำว่า “บริษัท” นำหน้าชื่อก็ได้ เป็นต้น
การจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
หลังจากที่ชื่อได้รับการอนุมัติให้นำไปใช้จดทะเบียนได้ ให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทร่วมกันจัดทำหนังสือ บริคณห์สนธิ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ต้องมีรายการดังนี้
1. ชื่อบริษัท ซึ่งต้องมีคำว่า “บริษัท” นำหน้า และ คำว่า “จำกัด (มหาชน)” ต่อท้าย หรือ ใช้อักษรย่อว่า “บมจ.” นำหน้า แทนคำว่า “บริษัท” คำว่า “จำกัด (มหาชน)”
2. ความประสงค์ของบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
3. วัตถุประสงค์ของบริษัทซึ่งต้องระบุประเภทของธุริจโดยชัดแจ้ง
4. ทุนจดทะเบียนซึ่งต้องแสดงชนิด จำนวน และมูลค่าของหุ้น
5. ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ซึ่งต้องระบุว่าจะตั้งอยู่ ณ ท้องที่ใดในราชอาณาจักร
6. ชื่อ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ และที่อยู่ของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท และจำนวนหุ้นที่แต่ละคนจองไว้
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน
1. คำขอจดทะเบียนตาม พรบ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2534 (แบบ บมจ. 101)
2. หนังสือบริคณห์สนธิของ บริษัทมหาชนจำกัด (แบบ บมจ. 001)
3. วัตถุประสงค์ (แบบ บมจ. 002)
4. ใบแจ้งผลการจองชื่อ บริษัทมหาชนจำกัด
5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
6. หนังสือจากหน่วยงานที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจบางประเภทซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียน หรือ ได้รับอนุญาตก่อน เช่น
• ธุรกิจธนาคาร เงินทุน เครดิตฟองซิเอร์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
• ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ
ค่าธรรมเนียมและสถานที่จดทะเบียน
ค่าธรรมเนียม
1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
• ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท
• ค่าธรรมเนียมสูงสุดแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
2. หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
3. รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
สถานที่ให้บริการ
ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนด้วยตนเอง ณ ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถ. นนทบุรี ต. บางกระสอ อ.เมือง จ. นนทบุรี 11000 หรือ
2. ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชน และธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ 563 ชั้น 4 ถ. นนทบุรี ต. บางกระสอ อ.เมือง จ. นนทบุรี 11000
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1570
การจัดตั้งบริษัทมหาชน อาจดูเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน แต่หากทำตามขั้นตอนและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 1570 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.dbd.go.th
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ จัดตั้งบริษัท
เรื่องควรรู้! ข้อมูลจำเป็นเมื่อจดทะเบียนบริษัทจำกัด
ความสัมพันธ์ระหว่าง “ผู้ถือหุ้น กรรมการ และบริษัทจำกัด”