หากวันหนึ่งได้รับหนังสือแจ้งจากสรรพากรให้เข้าชี้แจงเรื่องภาษี คงไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น ข่าวดีคือ หากธุรกิจมีความโปร่งใสและจัดการบัญชีอย่างถูกต้อง ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่าทำไมบางธุรกิจจึงถูกเพ่งเล็ง และประเด็นทางภาษีอะไรบ้างที่มักจะถูกตรวจสอบบ่อยที่สุด เตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่วันนี้ เพื่อป้องกันปัญหาก่อนที่จะสายเกินไป
ประเด็นทางภาษี ที่สรรพากรมักตรวจสอบ
มียอดซื้อสูงกว่ายอดขาย
หากกิจการดำเนินมาหลายปีตามปกติ แต่กลับมียอดซื้อ (รายจ่าย) สูงกว่ายอดขาย (รายได้) อาจถือเป็นความผิดปกติทางธุรกิจ เกิดข้อสงสัยว่าธุรกิจนำเงินจากที่ใดมาจ่ายค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ารายได้ปกติ เจ้าพนักงานประเมินอาจจะมีการเรียกตรวจสอบบัญชีและเอกสารเพื่อพิจารณาความถูกต้อง
ขอคืนหรือเครดิตภาษีขายติดกันหลายเดือน
กิจการใดมีการขอคืนหรือเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มติดต่อกันหลายเดือน อาจจะถูกเจ้าพนักงานประเมินเรียกตรวจสอบใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เพิ่งดำเนินกิจการ หรือเป็นผู้ประกอบการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% จึงมีภาษีซื้อขอคืนติดต่อกัน
ประเด็นอื่นที่สรรพากรมักตรวจสอบ
• ใบกำกับภาษีซื้อกับรายงานภาษีซื้อ ถูกต้องและตรงกันหรือไม่
• มีการซื้อทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวกับกิจการ แต่นำมาขอคืนภาษีหรือไม่
• ทรัพย์สินที่มีอยู่ตรงกับทะเบียนทรัพย์สินหรือไม่
• เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 หรือไม่
• กิจการรับจ้างผลิตที่รับจ้างเฉพาะค่าแรง แต่มีภาษีซื้อจากการซื้อวัตถุดิบหรือไม่
ติดตามประเด็นอื่นๆ เพิ่มได้ในคอลัมน์ Tax & Accounting
วารสาร CPD & Account ฉบับเดือนมีนาคม 2568
อ่านบทความอื่นๆ
บทลงโทษ ไม่ยื่นแบบ-ชำระภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี โอนกิจการ vs ควบรวมกิจการ
ข้อแตกต่างของ ภาษีอากรประเมิน กับ ภาษีอากรที่มิใช่ภาษีอากรประเมิน