28 มิถุนายน 2562
หลัง ครม.ประกาศให้ปีนี้มีโครงการ “ช้อปช่วยชาติ 2017” โดยขยายเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 23 วัน คือตั้งเเต่วันที่ 11 พ.ย. จนถึง 3 ธ.ค. 2560 ไปแล้วนั้น แม้จะเคยได้ยินชื่อโครงการนี้มาบ้างแล้ว แต่หลาย ๆ คนก็ยังคงสงสัยว่า ซื้อสินค้าหรือใช้บริการอะไรจึงจะนำไปลดหย่อนภาษีได้ จึงขอมาย้ำก่อนจะถึงโค้งสุดท้ายของโครงการนี้ให้ทราบกันครับ
เงื่อนไขช้อปช่วยชาติ
การใช้จ่ายในโครงการ “ช้อปช่วยชาติ” ระหว่างวันที่ 11 พ.ย. จนถึง 3 ธ.ค. 2560 สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งการจะใช้สิทธิลดหย่อนได้มีเงื่อนไขดังนี้
- เป็นการซื้อสินค้าและบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยไม่เป็นสินค้าหรือบริการที่ต้องห้ามไม่ได้รับสิทธิลดหย่อน
- ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (ต้องมีรายละเอียดของสินค้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชัดเจน )
มาใช้เป็นหลักฐานการลดหย่อนภาษี ไม่สามารถใช้ สลิปใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ - สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
สินค้า-บริการที่นำมาลดหย่อนภาษีได้
ค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อาทิ ค่าซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้า ค่าซื้อสินค้าจากร้านค้า duty free ค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหารและโรงแรมที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถ อะไหล่รถยนต์ ค่าซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ค่าบริการทำสปา-นวดหน้า ค่าตั๋วหนัง ค่าซ่อมรถ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2560 ค่าบริการเทรดหุ้น ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2560 ค่าตั๋วเครื่องบินที่บินในประเทศของสายการบินที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มระหว่างวันที่ 11 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2560 โดยต้องซื้อและบินภายในช่วงเวลามาตรการเท่านั้น
สินค้า-บริการที่นำมาลดหย่อนภาษีไม่ได้
สินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว เช่น ผักสด ของสด หนังสือ ทองคำแท่ง สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ ค่าที่พักและโรงแรม ค่านำเที่ยว มัคคุเทศก์ การรับบริการจากสถานพยาบาลและซื้อบัตรของขวัญห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ที่สำคัญคือผู้ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนต้องขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากทางร้านค้าด้วยทุกครั้ง หรือถ้าให้มั่นใจอาจจะสอบถามทางร้านว่าเข้าร่วมโครงการด้วยหรือไม่ก่อนให้แน่ใจช้อป จะได้ใม่ช้อปเพลินช้อปเกินโดยใช่เหตุนะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ข่าวกรมสรรพากร
เรื่อง : กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th