13 มีนาคม 2566
แนวทางการถนอมรัก
ธรรมนิติ เป็นบริษัทวิชาชีพทำธุรกิจประเภทบริการ ความสำเร็จหรือล้มเหลวของบริษัทจึงอยู่ที่ ‘คน’ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานทุกอย่างของบริษัท การปฏิบัติตามแนวทางที่ถนอมรักผู้ปฏิบัติงานจึงนับเป็นอีกหัวใจสำคัญในการดำเนินงานของธรรมนิติ
แนวทางการถนอมรักผู้ปฏิบัติงานของธรรมนิติประกอบด้วย
1. ให้รายได้และสวัสดิการแก่พนักงาน ให้สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของธุรกิจประเภทเดียวกัน โดยถือหลักตอบแทนตามความสามารถ ตามผลงานและตามฐานะของกิจการ
2. มอบหมายงานและตำแหน่งที่เหมาะสม โดยถือหลักใช้คนโดยถือคุณธรรม ความสามารถ ไม่ใช้คนโดยถือความสนิทสนม
3. ชี้นำงาน ปล่อยให้พวกเขาทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้กล้ารับผิดชอบ ในขณะเดียวกันก็ให้คำแนะนำตามควรแก่โอกาส เพื่อให้สามารถแสดงลักษณะสร้างสรรค์ของตนภายใต้แนวทางนโยบายของบริษัท
4. ยกระดับพนักงาน ให้การศึกษาอบรมเพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถ ในการทำงานให้สูงขึ้นเป็นขั้น ๆ
5. ตรวจสอบงาน ช่วยสรุปบทเรียน ส่งเสริมผลงานและแก้ความผิดพลาด ไม่ใช่มีแต่มอบหมาย ไม่มีการตรวจสอบ จนเกิดความผิดพลาดอย่างร้ายแรงแล้วจึงให้ความสนใจ
6. ใช้เหตุผล ใช้วิธีพูดจูงใจ หากมีความผิดพลาดขึ้นให้ใช้เหตุผล ใช้วิธีพูดจูงใจ ช่วยให้พนักงานแก้ความผิดพลาด เฉพาะผู้ที่ทำความผิดพลาดอย่างร้ายแรง ไม่ยอมรับผิดและไม่ยอมแก้ไขเท่านั้นจึงใช้วิธีรุนแรง
7. เอาใจใส่เหลียวแลความยากลำบาก เมื่อพนักงานมีความยากลำบากในเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย การครองชีพและปัญหาครอบครัว ฯลฯ ต้องเอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้
8. ยุติธรรม การปูนบำเหน็จ การลงโทษ ต้องยุติธรรมและกระทำโดยคณะกรรมการ ไม่ใช่กระทำโดยบุคคล และต้องไม่ใช่เป็นการลูบหน้าปะจมูก ไม่ว่าคนใกล้หรือคนไกล ถ้าทำความดีความชอบก็ควรได้รับการปูนบำเหน็จ ถ้าทำผิดถึงเป็นญาติพี่น้องก็จะต้องถูกลงโทษ
โดยเหตุที่เราถนอมรักผู้ปฏิบัติงานเราจึงสามารถจัดหามาและรักษาคนดีมีฝีมือไว้ได้ ด้วยเหตุนี้การให้ธรรมนิติกลายเป็นศูนย์รวมของคนดีมีฝีมือจำนวนมากจึงจะปรากฏเป็นจริงได้
ด้วยเหตุนี้การผนึกกำลังบุคลากรของธรรมนิติให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจึงจะปรากฏเป็นจริงได้ และด้วยเหตุนี้ธรรมนิติจึงจะสามารถบรรลุภารกิจของตนได้
แนวทางการถนอมรักผู้ปฏิบัติงาน เป็นแนวทางที่คณะผู้บริหาร ’ธรรมนิติ’ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2527 และใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 และยืนหยัดใช้แนวทางนี้มาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน