14 สิงหาคม 2562
การที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงานหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน กรณีลักษณะเช่นนี้ “กองทุนเงินทดแทน” จะช่วยเหลือลูกจ้างอย่างไรได้บ้าง (แต่นายจ้างต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างด้วยนะครับ) ซึ่งเงินสบทบที่จ่ายไปนั้น จะให้สิทธิเฉพาะกับบุคคลที่ส่งเงินสมทบ ซึ่งเรียกว่า “ผู้ประกันตน”
เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนรับการบริการทางการแพทย์และเลือกโรงพยาบาลแล้ว โดยผู้ประกันตนสามารถที่เข้าไปรักษาพยาบาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันถ้าโรคบางโรคโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลรักษาไม่ได้ เช่น การผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดสมอง ผ่าตัดกระโหลกศีรษะ เป็นต้น
สิทธิ์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ คือ บริการทางการแพทย์ รวมถึงอวัยะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดการรักษาโรคตามประกาศสำนักงานประกันสังคม กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน
สิทธิ์ของลูกจ้าง..มีอย่างไรบ้างและมีวิธีการขอรับความคุ้มครองนั้นอย่างไร
กฎหมายกำหนดให้มี “กองทุนเงินทดแทน” ขึ้นในสำนักงานประกันสังคมเพื่อจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้างแทนนายจ้าง โดยให้นายจ้างที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้างเพื่อจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน และเมื่อลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน กองทุนเงินทดแทนจะเป็นผู้จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ์แทนนายจ้าง
“เงินทดแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและค่าทำศพ…ซึ่งสิทธิ์ในแต่ละประเภทมีสาระสำคัญดังนี้
1. สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล
เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายและต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนเงิน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในจำนวนเงินไม่เกิน 45,000 บาท ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายเหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?id=2587&cat=186&lang=th?cat=847&webId=0
กรณีค่ารักษาพยาบาลทุกกรณีไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 300,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาและคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายตามจริงไม่เกินวันละ 1,300 บาท
หมายเหตุ
1. ลูกจ้างเข้ารักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน ไม่ต้องจ่ายค่ารักษา
2. ถ้าเข้ารักษาในสถานพยาบาลอื่น ให้ทดรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน แล้วเบิกคืนจากกองทุนเงินทดแทนภายใน 90 วัน
3. นายจ้างมีหน้าที่ส่งแบบแจ้งการประสบอันตราย (กท.16) พร้อมแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (กท. 44) ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างทราบ
2. สิทธิ์ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ
ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยและเมื่อการรักษาพยาบาลสิ้นสุดแล้ว…แต่สภาพร่างกายหรือจิตใจของลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม…ถ้าลูกจ้างมีความประสงค์จะฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายหรือจิตใจหรือฟื้นฟูอาชีพ…ลูกจ้างจะต้องยื่นคำขอเข้ารักการฟื้นฟูสมรรถภาพดังกล่าวต่อสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกฎหมายให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน…ดังนี้
– ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท
– ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน 20,000 บาท
3. สิทธิ์ค่าทำศพ
เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือรวมถึงการที่ลูกจ้างสูญหายด้วย…ทายาทผู้มิสิทธิ์กรณีนี้คือ ผู้จัดการศพของลูกจ้างซึ่งจะมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทำศพจำนวน 100 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวันขั้นต่ำสูงสุดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ดังนั้น ค่าทำศพจะมีจำนวนมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าจ้างรายวันขั้นต่ำสูงสุดที่กฎหมายกำหนด
4. สิทธิ์ค่าทดแทน
หมายถึง เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ์สำหรับการประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้าง…นอกเหนือจากสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน หรือค่าทำศพ โดยค่าทดแทนนี้ลูกจ้างจะได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้าง ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้น เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติดหตุจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้กับนายจ้างหรือทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง เมื่อเกิดสิทธิ์ขึ้นแล้ว ลูกจ้างหรือทายาทผู้มีสิทธิ์ต้องทำอย่างไร…ลูกจ้างหรือผู้มิสิทธิ์จะต้องยื่นคำขอรับเงินทดแทนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายหรือตาย หากพ้นกำหนดระยะเวลานี้แล้ว อาจทำให้สิ้นสิทธิ์ที่จะได้รับเงินทดแทน
แหล่งที่มา : www.jobdst.com