15 ตุลาคม 2562
สำหรับเนื้อหาในครั้งนี้ ได้หยิบยกเรื่องค่าใช้จ่ายมาแบ่งปันความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการพิจารณา และวิธีการรับรู้ค่าใช้จ่ายทางการบัญชี กับรายการค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากร
เพราะเชื่อว่าหลายท่านที่เตรียมการปิดบัญชี และเตรียมการยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คงอยากทบทวนกันว่า สิ่งใดบ้าง? ที่มาตรฐานได้กล่าวถึงแล้วมีผลกระทบ และไม่กระทบต่อการพิจารณาค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากร
การพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ (ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์)
รายการ | การรับรู้รายการทางบัญชี | การรับรู้รายการตามประมวลรัษฎากร |
1. กรณีซ่อมแซมบำรุงรักษา |
มฐ.#16 กรณีที่เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง จะไม่รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชี โดยรับรู้ต้นทุนในการซ่อมบำรุงที่เกิดขึ้นเป็นประจำมีองค์ประกอบหลักเป็นต้นทุนค่าแรงงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง และอาจรวมถึงชิ้นส่วนอะไหล่ชิ้นเล็ | การซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม เพื่อใช้งานได้ตามปกติ รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายได้ |
2. กรณีเปลี่ยนส่วนประกอบของสินทรัพย์ ตามระยะเวลาที่กำหนด |
มฐ.#16 กรณีที่เกิดขึ้นภายหลังรับรู้รายการ กิจการต้องรับรู้ต้นทุนในการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแทน |
หลักพิจารณา กรณีเปลี่ยนแทนที่อาจเข้าเงื่อนไขใน 3 กรณี 1. การเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้ดีกว่าเดิม หรือทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่าเดิม ให้ถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ และ ทำการคิดค่าเสื่อมราคา ตามพรฎ.# 145 2. รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้น ถือเป็นรายจ่ายลงทุน ต้องห้ามเป็นค่าใช้จ่าย 3. คำพิพากษาฎีกาที่ 1966/2541 รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร ซึ่งเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้น ไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) |
3. กรณีตรวจสอบสภาพครั้งใหญ่ ตามกำหนดระยะเวลา เพื่อให้สภาพสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง |
มฐ.#16 กรณีที่เกิดขึ้นภายหลังรับรู้รายการ กิจการต้องรับรู้ต้นทุนในการตรวจสอบสภาพครั้งใหญ่แต่ละครั้งเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการนั้น โดยไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแทนชิ้นส่วนใดหรือไม่ |
หลักการพิจารณาหากเป็นการตรวจสอบสภาพการใช้งาน ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ แต่ หากมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการตรวจสอบสภาพ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเสียค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแทนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน หรือทำให้ทรัพย์สินมีสภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม ก็ให้ถือแนวปฏิบัติตาม ข้อ 2 คำอธิบาย 1. และ 2.
ข้อสังเกตุ : หากค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสภาพ มีมูลค่าสูง อาจเป็นประเด็นที่จะทำให้ถูกพิจารณาเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ได้ ทั้งนี้ ตามประมวลรัษฎากร ยังคงพิจารณาการตรวจสอบของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
|
4. กรณีที่มีการเช่าสถานที่ หรือเช่าอาคาร (ชั่วคราว) ในระหว่างที่มีการก่อสร้าง ตึกอาคาร เพื่อให้เป็นสถานประกอบการ |
มฐ.#16 ถือได้ว่าค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเช่าอาคารสถานที่ สำหรับใช้เป็นสำนักงานชั่วคราว ในระหว่างก่อสร้าง ให้รวมค่าเช่านั้นเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ (ตึกอาคาร) เพื่อให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน | ตามพรฎ.#145 ให้ถือปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป ซึ่งพิจารณว่าค่าเช่าอาคารสถานที่สำหรับใช้เป็นสำนักงานชั่วคราว ให้ถือเป็นในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ |
5. กรณีที่กิจการซื้ออุปกรณ์สำนักงาน, เครื่องใช้สำนักงาน แล้วมีวัตถุประสงค์จะนำมาใช้ในตึกอาคารที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งเครื่องใช้สำนักงานนั้นได้ถูกเก็บไว้ยังไม่ได้นำมาใช้งาน |
มฐ.#16 อธิบายว่าสินทรัพย์ที่ได้มานั้นจะยุติการรับรู้ต้นทุนของสินทรัพย์ เพื่อนำไปสู่การคิดค่าเสื่อมราคานั้น สินทรัพย์จะต้องอยู่ภายใต้ เงื่อนไขสถานที่, สภาพที่พร้อมใช้, และตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริหารกิจการ ข้อสังเกตุ : หากจะยุติการรับรู้ต้นทุนของอุปกรณ์สำนักงาน,เครื่องใช้สำนักงาน และเริ่มคิดค่าเสื่อมราคา จะต้องเข้าองค์ประกอบเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น
|
ตามพรฎ.#145 ให้ถือปฏิบัติว่าหลักการในการเริ่มคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์นั้นจะพิจารณาเมื่อได้มา โดยถือว่าพร้อมใช้งานแล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่ใช้งานก็ตาม (ในที่นี่ต้องพิจารณาเรื่องของอายุการใช้งานประกอบด้วยหากอุปกรณ์สำนักงาน, เครื่องใช้สำนักงาน นั้นต้องมีอายุเกินกว่า 1 ปี หากอายุไม่เกิน 1 ปี จะต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแทนสินทรัพย์) เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีการยึดติดกับตัวตึกอาคารที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง
ข้อสังเกตุ : การคิดค่าเสื่อมราคาตามประมวลรัษฎากรนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นได้ว่าจุดที่ทำการรับรู้ค่าเสื่อมนั้นจะเริ่มคิดก่อนหลักการบัญชี |
ธนพล สุขมั่นธรรม : ผู้เขียน
—–
แหล่งที่มา : www.jobdst.com