ในยุคที่ความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ นักบัญชีไม่ได้มีบทบาทแค่การบันทึกข้อมูลทางการเงินอีกต่อไป แต่ยังต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำรายงาน ESG (Environment, Social, Governance) เพื่อสะท้อนภาพรวมของธุรกิจที่ครอบคลุมทุกมิติ บทความนี้จะอธิบายว่านักบัญชีสามารถนำทักษะและความรู้ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำรายงาน ESG ได้อย่างไร
การจัดทำรายงาน ESG (Environment, Social, Governance) นักบัญชีต้องรู้เรื่องใด?
1. เข้าใจมาตรฐาน ESG ที่หลากหลาย
ต้องเข้าใจมาตรฐาน กรอบแนวคิด แนวปฏิบัติของ ESG หลากหลายรูปแบบ เพื่อเลือกใช้แนวทางสำหรับจัดทำรายงาน ESG ให้เหมาะสมกับธุรกิจ จะช่วยทำให้ผู้มีส่วนได้เสียรู้สึกเชื่อมั่น อีกทั้งข้อมูลในรายงานจะต้องชี้ให้เห็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
2. การบริหารจัดการความเสี่ยง
การจัดทำรายงาน ESG ต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่จะช่วยลดความเสี่ยง ESG เพื่อให้กิจการมุ่งหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวอย่างความเสี่ยง ESG ได้แก่
ด้านสิ่งแวดล้อม : การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการให้บริการหรือจัดหาวัตถุดิบ
ด้านสังคม : การคัดค้านสร้างโรงงานในบริเวณพื้นที่ใกล้ชุมชน
ด้านธรรมาภิบาล : ความบกพร่องในมาตรการกำกับดูแลภายในองค์กร
3. การจัดการข้อมูล
รายงาน ESG เป็นรายงานที่มีข้อมูลหลายรูปแบบ มีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน นักบัญชีจะต้องนำข้อมูลมาจัดระบบให้อยู่ในรูปแบบที่เห็นแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน และอาจต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลดังกล่าว
4. จรรยาบรรณ
หลักสำคัญของการนำเสนอข้อมูล คือ นักบัญชีต้องมีจรรยาบรรณ คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มจะได้รับ รวมถึงต้องมีความรู้ในการบริหารโครงการ เพื่อนำมาใช้ในการนำเสนอรายงาน ESG ด้วย
การจัดทำรายงาน ESG เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน แต่ด้วยความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ESG การบริหารจัดการความเสี่ยง การจัดการข้อมูล และจรรยาบรรณ นักบัญชีสามารถสร้างรายงานที่มีคุณภาพสูง ซึ่งไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ยังช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน เอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนกันยายน 2567
พร้อมบทความที่น่าสนใจโดยนักเขียนผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ท่าน
หรือดูตัวอย่างวารสาร เอกสารภาษีอากร ฉบับอื่นๆ คลิกที่นี่
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ ESG
7 ขั้นตอน การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG
ESG แนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1
ESG แนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 2