หนี้สินไม่ใช่แค่ตัวเลขในบัญชี แต่เป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ต้องมีความชัดเจนและความรับผิดชอบ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เจ้าหนี้อาจเรียกร้องให้มี “การรับสภาพหนี้” ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลทางกฎหมายโดยตรง
ก่อนตัดสินใจรับสภาพหนี้หรือรับผิด ควรเข้าใจความแตกต่างของแนวคิดเหล่านี้ รวมถึงวิธีและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถปกป้องสิทธิ์ของตนเองได้อย่างถูกต้อง ติดตามรายละเอียดในบทความนี้เพื่อเรียนรู้แนวทางที่ชัดเจนก่อนลงนามในเอกสารสำคัญ
การรับสภาพหนี้
“หนี้สิน” เป็นข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่มีอยู่จริง เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด เจ้าหนี้อาจเรียกร้องให้ลูกหนี้ “รับสภาพหนี้” ได้
ต้องรับสภาพหนี้ “ก่อนหนี้จะขาดอายุความ” และกระทำโดย “ลูกหนี้” เท่านั้น สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
“วิธีรับสภาพหนี้” ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14
(1) ทำเป็นหนังสือสัญญา
(2) ชำระหนี้บางส่วน
(3) ชำระดอกเบี้ย
(4) ให้ประกัน
(5) ทำการใด ๆ ที่แสดงว่ายอมรับสภาพหนี้
ผลการรับสภาพหนี้
การรับสภาพหนี้มีผลทางกฎหมายอย่างไร ?
• เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่รับสภาพ
• เจ้าหนี้อาจใช้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหลักฐานฟ้องคดี
• ลูกหนี้อ้างไม่ได้ว่า ไม่เป็นหนี้เจ้าหนี้ หรือ หนี้ขาดอายุความไปแล้ว
• เจ้าหนี้มีหลักฐานเรียกเก็บหนี้ตามกฎหมายได้ง่ายขึ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/15
รับสภาพความผิด
“การรับสภาพความผิด” : การที่บุคคลยอมรับว่า “ต้องรับผิดในทางกฎหมาย”
ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ทางแพ่งหรือหนี้เงินเสมอไป แต่อาจใช้ในกรณีที่อาจมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิด เช่น คดีละเมิด หรือ คดีสัญญา
เป็นกรณีรับสภาพหนี้ “หลังจากหนี้ขาดอายุความ”
Q: หนี้ขาดอายุความหรือไม่?
A: ต้องดูกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ ว่ากำหนดอายุความเรื่องนั้นไว้กี่ปี
ผลของการ “รับสภาพความผิด”
เริ่มนับอายุความใหม่ และมีกำหนด อายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิด
เมื่อรับสภาพความผิดแล้ว อาจมีผลให้ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือรับผิดตามข้อตกลง ถือว่าลูกหนี้สละประโยชน์แห่งอายุความ
ตัวอย่าง
• ขับรถชนและทำหนังสือรับผิดชอบความเสียหาย โดยระบุว่าจะชดใช้ค่าซ่อมให้ภายใน 30 วัน
• บริษัท A ทำผิดสัญญากับบริษัท B และออกหนังสือรับผิดเพื่อยอมรับความผิด พร้อมระบุแนวทางชดเชย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35
อ่านบทความอื่นๆ
“การรับสภาพหนี้” บันทึกพันธะแห่งความไว้วางใจ ตอนที่ 2 : หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลต่อการยอมความ ในคดีอาญาหรือไม่?
ปัญหาลูกหนี้กรรมการจุดอ่อนในงบการเงิน
ทวงหนี้อย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย
บริหารลูกหนี้อย่างไร ไม่ให้หนี้เป็นศูนย์